การสำรวจเครื่องสำอางเคาน์เตอร์แบรนด์ที่ประชาชนนิยมใช้

Main Article Content

รัชนิดา กันภัย
พลอยงาม เร็วงาม
นิลวรรณ อยู่ภักดี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการเลือกซื้อเครื่องสำอางเคาน์เตอร์แบรนด์ที่ประชาชนในประเทศไทยนิยมใช้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรที่ใช้เครื่องสำอางเคาน์เตอร์แบรนด์ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) จากแบบสอบถามออนไลน์รูปแบบ Google forms วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ในรูปแบบจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 92.50) มีอายุระหว่าง 20-30 ปี (ร้อยละ 66.25) ระดับการศึกษาปริญญาตรี (ร้อยละ 72.25) อาชีพพนักงานเอกชน (ร้อยละ 31.25) รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,000-30,000 บาท (ร้อยละ 35.00) ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เลือกซื้อเครื่องสำอางเคาน์เตอร์แบรนด์ประเภทเครื่องสำอางบำรุงผิวหน้ามากที่สุด โดยเครื่องสำอางเคาน์เตอร์แบรนด์ที่เลือกซื้อมากที่สุด คือ Biotherm (ร้อยละ 9.75) รองลงมา คือ Clarins (ร้อยละ 8.50), Estee Lauder (ร้อยละ 8.00), Bobbi Brown (ร้อยละ 7.75) และ Kiehl’s (ร้อยละ 7.50) เหตุผลหลักที่เลือกซื้อเครื่องสำอางเคาน์เตอร์แบรนด์ คือ ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพที่ดี (ร้อยละ 57.50) ค่าใช้จ่ายในการซื้อแต่ละครั้งมากที่สุด 1,000-5,000 บาท (ร้อยละ 66.50) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีระดับคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยมากที่สุดในแต่ละด้าน ดังนี้ ด้านผลิตภัณฑ์ คือ ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและมีมาตรฐาน (ค่าเฉลี่ย 4.75 ± 0.47) และผลิตภัณฑ์มีประสิทธิภาพเห็นผลลัพธ์ชัดเจน (ค่าเฉลี่ย 4.65 ± 0.54) ด้านราคา คือ ราคาเหมาะสมกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ (ค่าเฉลี่ย 4.47 ± 0.67) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย คือ ช่องทางการจัดจำหน่ายมีความหลากหลาย (ค่าเฉลี่ย 4.39 ± 0.78) และด้านการส่งเสริมการตลาด คือ มีการส่งเสริมการตลาดที่ดึงดูดใจ (ค่าเฉลี่ย 4.38 ± 0.78) ผลการวิจัยนี้เป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการธุรกิจหรือผู้ที่สนใจในการประกอบธุรกิจความงาม เพื่อนำไปพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดให้ตอบสนองต่อความพึงพอใจของผู้บริโภค

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 7). โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ตลาดเครื่องสำอาง. (2560). ธนาคารกรุงไทย. https://sme.krungthai.com/sme/productList Action.action?command=getDetail&cateMenu=KNOWLEDGE&cateId=32&itemId=60

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 15). บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ไพศาล วรคำ. (2555). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). ตักศิลาการพิมพ์.

ภัณฑิรา สุขสมนิรันดร. (2559). การศึกษาความพึงพอใจในการซื้อเครื่องสำอางพรีเมี่ยมแบรนด์ของวัยเริ่มทำงาน First Jobber วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รตินันท์ ชัยวิบูลย์เวช. (2561). เจาะลึกตลาดเครื่องสำอางและความงามในไทย ยุคที่ผู้บริโภคต้องการสวยเร่งด่วน. Brand Inside. https://brandinside.asia/mkt-gantar-research-1/

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). ตลาดบิ้วตี้ยังแจ๋ว เกาะเทรนด์ธุรกิจทำเงิน. ธนาคารกสิกรไทย. https://www.kasikornbank.com/th/business/sme

สมนึก ภัททิยธนี. (2544). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). ประสานการพิมพ์.

สมนึก ภัททิยธนี. (2546). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 7). ประสานการพิมพ์.

Hipps, M. (2020). Stat about loyalty every beauty brand should know. Corra. https://corra.com/beauty-product-loyalty