การวิเคราะห์ปริมาณการสั่งซื้อวัตถุดิบประเภทเครื่องสำอางที่เหมาะสม กรณีศึกษา โรงงานรับจ้างผลิตเครื่องสำอาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการเลือกการพยากรณ์ของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่เหมาะสมและวิเคราะห์ปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการสินค้าคงคลัง โดยทำการคัดเลือกวัตถุดิบ 10003560 เป็นตัวแทน เพราะเป็นวัตถุดิบที่มีระยะเวลาในการสั่งซื้อและราคาต่อกิโลกรัมสูงที่สุด โดยใช้การพยากรณ์ทั้งหมด 3 วิธี ได้แก่ 1) วิธีหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย 3 เดือน 2) วิธีหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย 6 เดือน และ 3) วิธีปรับเรียบเอ็กซ์โปเนียนเชียลชั้นเดียว และเลือกวิธีพยากรณ์ที่เหมาะสมที่สุด โดยพิจารณาจากค่าความคลาดเคลื่อนที่ต่ำที่สุด จากผลการศึกษาเลือกวัตถุดิบ 10003560 เพราะ มีระยะในการสั่งซื้อและราคาต่อกิโลกรัมสูงที่สุด โดยใช้รูปแบบ การพยากรณ์ทั้งหมด 3 วิธี และพบว่าการพยากรณ์วิธีปรับเรียบเอ็กซ์โปเนียนเชียลชั้นเดียว มีความเหมาะสมที่สุด เนื่องจากมีค่าความคลาดเคลื่อนต่ำที่สุด และผลวิเคราะห์ปริมาณการสั่งซื้อแบบประหยัดของวัตถุดิบ 10003560 เท่ากับ 275 กิโลกรัมต่อครั้ง รอบการสั่งซื้อทุก 46 วัน โดยที่ระดับการให้บริการที่ร้อยละ 80 ปริมาณวัตถุดิบคงคลังสำรอง เท่ากับ 23.43 กิโลกรัม และจุดสั่งซื้อใหม่ เท่ากับ 208.41 กิโลกรัม โดยมีต้นทุนรวมการสั่งซื้อและต้นทุนการเก็บรักษาของวัตถุดิบเท่ากับ 22,654.63 บาทต่อปี จากข้อมูลต้นทุนการสั่งซื้อและต้นทุนการเก็บรักษาของวัตถุดิบแบบเดิม 41,096.77 บาทต่อปี ซึ่งสามารถลดต้นทุนรวมลงได้ 18,442.14 บาทต่อปี หรือลดลงร้อยละ 45
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
กรรณิกา เทพมหานิล. (2562). การวิเคราะห์หาปริมาณที่เหมาะสม กรณีศึกษาบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
พิชิต สุขเจริญพงษ์. (2545). การจัดการวิศวกรรมการผลิต. ซีเอ็ดยูเคชั่น.
พิภพ ลลิตาภรณ์. (2552). การบริหารพัสดุคงคลัง. สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
Jiradech. (2554ก). จุดสั่งซื้อใหม่ (Reorder point). https://inventorymanagementmetrics.blogspot.com/2011/12/reorder-point.html
Jiradech. (2554ข). ระบบขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัด (Economic order quantity หรือ EOQ). https://inventorymanagementmetrics.blogspot.com/search/label/EOQ
Kris Piroj. (2560). EOQ คืออะไร? (Economic order quantity). https://greedisgoods.com/eoq-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD