คติชนคนสุพรรณบุรี พื้นที่แสดงตัวตนกับการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมในเทศกาลสงกรานต์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์ความเป็นคนสุพรรณบุรีผ่านข้อมูลคติชนประเภทต่าง ๆ ในพื้นที่งานสงกรานต์ และความหลากหลายของวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี ในงานเย็นทั่วหล้ามหาสงกรานต์ โดยนำเสนอผ่านขบวนแห่บุปผชาติประกอบคำขวัญ การแต่งกายของกลุ่มชาติพันธุ์และกิจกรรมการแสดง รวมถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่แสดงออกผ่านการยกย่องเชิดชูบุคคลสำคัญ ทั้งทางประวัติศาสตร์และปัจจุบัน ทำให้เกิดพื้นที่การจัดงานเทศกาลสงกรานต์และเป็นพื้นที่แสดงตัวตนแห่งใหม่ของคนสุพรรณบุรี นำเสนอวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ยังคง สืบสานมาจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนการวิเคราะห์บทบาทกับการประยุกต์ทฤษฎีทางคติชนวิทยา กรณีศึกษางานเทศกาลสงกรานต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ยังแสดงตัวตนและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในจังหวัดสุพรรณบุรี สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของพื้นที่ที่มีส่วนช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเทศกาลสงกรานต์ของจังหวัด ซึ่งสามารถปรับประยุกต์การผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมให้เข้ากับบริบททางสังคมในปัจจุบันได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
กลุ่มการท่องเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรี. (2561). เย็นทั่วหล้ามหาสงกรานต์ สุพรรณบุรี ปี 2561 ณ ถนนอาทิวราห์ อำเภอเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี. เรารักสุพรรณฯ. http://www.welovesuphan.com
ขนิษฐา คันธะวิชัย, และมณทิรา ราโท. (2552). มอญแผ่นดินสยาม. ศรีบูรณ์คอมพิวเตอร์.
ทีมข่าวนิวส์ทั่วไทย. (2561). สงกรานต์ไทยทรงดำ. http://www.talknewonline.com
ปรมินท์ จารุวร. (2559). คติชนกับการท่องเที่ยว: หมู่บ้านวัฒนธรรมหนองขาว จังหวัดกาญจนบุรี. โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิติชัย พงษ์วานิชอนันต์. (2543). สุพรรณบุรี. ต้นอ้อ.
พระมหาอดิศร ถิรสีโล. (2547). ประวัติศาสตร์เมืองสุพรรณบุรี. โอเดียนสโตร์.
โพธิ์ แซมลำเจียก. (2538). วัฒนธรรมและประเพณีไทยพวน. จงเจริญ.
ม. ศรีบุษรา. (2522). ไทยดำรำพัน. บรรณกิจ.
ศิราพร ณ ถลาง. (2558). เรื่องเล่าพื้นบ้านไทยในโลกที่เปลี่ยนแปลง. ภาพพิมพ์.
ศิราพร ณ ถลาง, และสุกัญญา ภัทราชัย. (2542). คติชนกับคนไทย-ไท รวมบทความทางด้านคติชนวิทยาในบริบททางสังคม. โครงการตำราคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หม่องน้อย. (2560). พระบรมราชนุสรณ์ดอนเจดีย์. http://www.suphan.biz
หม่องน้อย. (2561). สงกรานต์สุพรรณบุรี. http://www.suphan.biz
Bascom, W. R. (1965). Four function of folklore. In A. Dundes (Ed.), The study of folklore (pp. 333-349).
Prentice Hall.