ผลการใช้เทคนิคการสอน KWL Plus ร่วมกับการจดบันทึกแบบคอร์เนลล์ที่ส่งผล ต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักศึกษา ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง อาชีวศึกษาจังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

โกวิท บุญด้วง
ขวัญชนก นัยจรัญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักศึกษาก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เทคนิคการสอน KWL Plus ร่วมกับการจดบันทึกแบบคอร์เนลล์ 2) ศึกษาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักศึกษาระหว่างทำกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอน KWL Plus ร่วมกับการจดบันทึกแบบคอร์เนลล์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (cluster sampling) จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การพัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิคสอนสอน KWL Plus ร่วมกับการจดบันทึกคอร์เนลล์ และ 2) แบบวัดความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักศึกษาระหว่างทำกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอน KWL Plus ร่วมกับการจดบันทึกแบบคอร์เนลล์ในภาพรวม พบว่า นักศึกษามีความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจเพิ่มขึ้นโดยวัดจากการตรวจการจดบันทึกแบบคอร์เนลล์ตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). การจัดสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551. กรมวิชาการ.

ขวัญชนก นัยจรัญ. (2565). การพัฒนาการอ่าน. การพิมพ์ดอทคอม.

จันทรพิมพ์ รังษี. (2565). การพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยการใช้เทคนิค SQ6R ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จุฑาทิพย์ แซ่กี้. (2564). การจัดการเรียนรู้วรรณกรรมไทยด้วยกลวิธีรีดเดอร์สเธียเตอร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักศึกษามัธยมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เทียมจันทร์ สังขพันธานนท์. (2563). ประสิทธิผลของการสอนการอ่านแบบแลกเปลี่ยนบทบาทในการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาสเปน: กรณีศึกษาของนักศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทวรรณ ชื่นชมคุณาธร. (2565). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (แผนการเรียนคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์) โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการจดบันทึกคอร์เนลล์. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน.

ผัสสพรรณ ถนอมพงษ์ชาติ. (2550). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้วิธีการบันทึกแบบคอร์เนลล์. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาลินี สุทธิเวช. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านสรุปความ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มิ่งขวัญ สุขสบาย. (2562). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ด้วยเทคนิค KWL Plus ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2563). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา (พ.ศ. 2560-2579).

สิริดา โอวาสิทธิ์. (2565). บทเรียนเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้วิธี KWL-Plus สำหรับนักศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอุตรดิตถ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

เสาวลักษณ์ รัตนวิชช์. (2550). การสังเคราะห์ผลงานวิจัยของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยและภาษาอังกฤษแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Raygor, A. L., & Raygor, R. D. (1985). Effective of reading. McGraw-Hill.