ภาพวาดชิงหมิงริมนที : การศึกษาจิตวิญญาณทางวัฒนธรรมเพื่อการสร้างสรรค์ ผลงานจิตรกรรม “ทะเลเมฆ”

Main Article Content

ย่าหลิน หลี่
ปิติวรรธน์ สมไทย
ภานุ สรวยสุวรรณ

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับจิตวิญญาณทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในภาพวาดชิงหมิงริมนทีซึ่งเป็นหนึ่งในสิบภาพวาดที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศจีนและได้รับการสืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณจวบจนปัจจุบัน วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้เพื่อศึกษาภาพวาดชิงหมิงริมนทีและแปลเนื้อหาของภาพวาดที่เข้าใจยากให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจได้ง่ายขึ้นและเพื่อสืบทอดจิตวิญญาณของวัฒนธรรมดั้งเดิมให้ยังคงอยู่ในสังคมสมัยใหม่ต่อไป การศึกษาในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการสำรวจภาพวาดชิงหมิงริมนทีผ่านวิธีการวิจัยต่าง ๆ ได้แก่ การวิจัยเอกสารวรรณกรรม การวิจัยภาคสนาม การวิเคราะห์ข้อมูลและการสรุปเนื้อหาภาพวาดโดยการอภิบายถึงวิธีการชื่นชมภาพวาด การวิเคราะห์จิตวิญญาณทางวัฒนธรรม ตลอดจนการนำเสนอแนวคิดในการดื่มด่ำกับภาพวาดชิงหมิงริมนทีและภาพวาดจีนอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน จากการศึกษาสรุปได้ว่า ภาพวาดชิงหมิงริมนทีคือจิตวิญญาณทางวัฒนธรรมของมนุษย์ที่สอดคล้องกับคำเปรียบเปรยที่ว่า “สูงสุดคืนสู่สามัญ” ซึ่งถือเป็นปรัชญาที่ยิ่งใหญ่และยังคงความเป็นอมตะในสังคมยุคใหม่ กล่าวคือ เป็นคำสอนให้มนุษย์ทุกคนตั้งตนอยู่บนความไม่ประมาทและเตรียมพร้อมรับมือกับอันตรายในช่วงเวลาแห่งความสงบสุขและในขณะที่เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกำลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Baike. (2021). If you have a stable warehouse, you will know the etiquette; If you have enough food and clothing, you will know the honor and disgrace. https://baike.so.com/doc/5398654-5636075.html

Bangda, X. (1958). A preliminary study on the Riverside Scene at Qingming Festival. Palace Museum Journal, 1, 37-51.

Diyu, L. (2011). The basis of street culture: Analysis of street space nodes and related life scenes in “The Riverside Scene at Qingming Festival”. Southern Architecture, (4), 64-71.

Huamin, M. (1990). The Riverside Scene at Qingming Festival: Reflects shipbuilding technology.

Chinese Cultural Relics, (4), 75-79.

Mengjiang, Z. (1987). The Riverside Scene at Qingming Festival: Reflects Bianhe River shipping. Journal of Henan University (Social Science), 1, 72-74.

Qingxiang, J., & Guoliang, X. (1981). Looking at the urban economy of Bianjing in the Northern Song Dynasty from “The Riverside Scene at Qingming Festival” and “Dong Jing Meng Hua Lu”. Chinese Academy of Social Sciences, (4), 185-207.

Shoucheng, C. (2010). Song Dynasty Bianhe River Boats: Deconstruction of the boats in “The Riverside Scene at Qingming Festival”. Shanghai Bookstore Publishing House.