การประยุกต์ใช้เกมภาษาและแอปพลิเคชัน เพื่อการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีน กรณีศึกษา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6) โรงเรียนเมืองแพร่ อ.เมือง จ.แพร่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนโดยการประยุกต์ใช้เกมภาษาและแอปพลิเคชันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6) โรงเรียนเมืองแพร่ อ.เมือง จ.แพร่ (2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เกมภาษาและแอปพลิเคชัน (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6) โรงเรียนเมืองแพร่ อ.เมือง จ.แพร่ ในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนโดยใช้เกมภาษาและแอปพลิเคชัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6) โรงเรียนเมืองแพร่ อ.เมือง จ.แพร่ จำนวน 57 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนโดยการประยุกต์ใช้เกมภาษาและแอปพลิเคชัน จำนวน 4 แผนการเรียนรู้ (2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนโดยการประยุกต์ใช้เกมภาษาและแอปพลิเคชัน
ผลการวิจัยพบว่า (1) การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนโดยการประยุกต์ใช้เกมภาษาและแอปพลิเคชันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6) โรงเรียนเมืองแพร่ อ.เมือง จ.แพร่ มีแผนการจัดการเรียนการสอน กิจกรรม รูปแบบการวัดและประเมินผลที่สามารถพัฒนานักเรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนโดยการประยุกต์ใช้เกมภาษาและแอปพลิเคชัน มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 11.50 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 2.33 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนโดยการประยุกต์ใช้เกมภาษาและแอปพลิเคชันมีค่าเฉลี่ยนอยู่ที่ 16.63 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 1.65 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผลสัมฤทธิ์หลังการประยุกต์ใช้เกมภาษาและแอปพลิเคชัน เพิ่มขึ้น (3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เกมภาษาและแอปพลิเคชันอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า การเรียนภาษาจีนโดยใช้เกมภาษาและแอปพลิเคชันเมื่อเทียบกับการเรียนแบบท่องจำปกติ ช่วยให้มีความมั่นใจในการพูด ออกเสียง และเขียนภาษาจีนมากขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ การจัดการเรียนรู้ภาษาจีนโดยใช้เกมภาษาและแอปพลิเคชันมีประโยชน์ในการติดต่อสื่อสาร อยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 18). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นภาลักษณ์ ตั้งอรุณศิลป์. (2559). การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนวิชาภาษาจีนขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาการจำอักษรจีนโดยใช้เทคนิคมอร์ฟฟิ่งร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
พิมพร วัฒนากมลกุล, และมโนรัตน์ สมคะเนย์. (2564). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนโดยการใช้เกมผ่านแอปพลิเคชัน. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
วทัญญู ขลิบเงิน. (2555). รู้เขา รู้เรา การศึกษาไทย วิถีถิ่น วิถีไทย ก้าวไกลในอาเซียน. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 10(2), 90.
วิทยา พรพัชรพงศ์. (2550). การใช้ทฤษฎีเกมในการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ. สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร.