ทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

Main Article Content

ณิชาภา เจริญรูป
พัชรินทร์ รุจิรานุกูล
สุรีย์มาศ สุรีย์มาศ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จำแนกตามเพศและคณะ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ชั้นปีที่ 1-4 ภาคปกติ จำนวน 377 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยความคลาดเคลื่อน .05 ของยามาเน่ กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใชในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.45 - 0.98 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.77 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ("X" ̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ใช้การทดสอบค่าที (t–test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของ LSD และ Tamhane ผลการวิจัยพบว่า ทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยรวมอยู่ในระดับมาก ("X" ̅ = 4.09, S.D. = 0.26) เมื่อพิจารณารายด้านจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม 2) ด้านทักษะในการจัดสรรเวลาหน้าจอ 3) ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์มีวิจารณญาณที่ดี 4) ด้านทักษะในการรับมือกับการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ 5) ด้านทักษะในการรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตนเอง 6) ด้านทักษะในการรักษาข้อมูลส่วนตัว 7) ด้านทักษะในการบริหารจัดการข้อมูลที่ผู้ใช้งานมีการทิ้งไว้บนโลกออนไลน์ และ 8) ด้านทักษะการรักษาความปลอดภัยของตนเองในโลกไซเบอร์ เมื่อเปรียบเทียบทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จำแนกตามเพศและคณะ โดยรวมมีทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา เดชสม, และรุ่งชัชดาพร เวหะชาต. (2564). การพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนในศตวรรษที่ 21.วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 31(1), 151-163.

ฉัตรพงษ์ ชูแสงนิล. (2561). ยุคแห่งพลเมืองดิจิทัล. คลังความรู้ SciMath. https://www.scimath.org/ article-technology/item

นิคม ชัยขุนพล. (2560). ลักษณะปฏิสัมพันธ์การสื่อสารจากพฤติกรรมการใชสื่อสังคมเครือขายออนไลน์ของคนไทย.วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 27(2), 55-65.

บุญชม ศรีสะอาด, และบุญส่ง นิลแก้ว. (2535). การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่ากับ กลุ่มตัวอย่าง. วารสารวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม, 3(1), 23-34.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง. (2561). คู่มือพลเมืองดิจิทัล. สํานักงานสงเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม.

สรานนท์ อินทนนท์. (2563). ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ: Digital Intelligence). มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน.

สํานักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). การใช้ไอซีทีของเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2561 (ไตรมาส 4). มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน.

สุวรรณี ไวท์, สุวัฒสัน รักขันโท, และสิริวัฒน์ ศรีเครือดง. (2564). มนุษย์กับความเป็นพลเมืองดิจิทัล. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 7(2), 339-355.

โสภิดา วีรกุลเทวัญ. (2561). เท่าทันสื่อ: อำนาจในมือพลเมืองดิจิทัล. สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน.

Cronbach, L. J. (1990). Essential of psychological testing (5th ed). Harper Collins.

Yamane, T. (1970). Statistics: An introductory analysis (2nd ed). Harper & Row.