สำเนียงเขมรในบทประพันธ์เพลงของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก สาขาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะทางดนตรีและกลวิธีการประพันธ์เพลงสำเนียงเขมรของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ นำเสนอเชิงพรรณนาเลือกบทเพลงในวิเคราะห์ จำนวน 6 เพลง และในบทความนี้ได้นำเสนอตัวอย่างเพลงเขมรเลียบพระนคร เถา ในการอธิบาย
ผลการศึกษาพบว่า เพลงสำเนียงเขมรเป็นเพลงไทยที่โบราณาจารย์ประพันธ์ขึ้นจากการได้ยินและจดจำสำเนียงและลีลาของเพลงเขมรโดยใช้ทฤษฎีดนตรีไทย มีลักษณะทางดนตรีที่บ่งบอกความเป็นสำเนียง เรียกว่า “ลูกภาษา” ในบทประพันธ์เพลงสำเนียงเขมรของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ปรากฏอัตลักษณ์จากกลวิธีการประพันธ์ที่โดดเด่น ได้แก่ การนำกระสวนจังหวะรูปแบบต่าง ๆ มาผสมผสานในการสร้างทำนอง การสร้างวลีของทำนองที่มีลักษณะเฉพาะ นำไปวางไว้ในตำแหน่งต่างๆ ของบทเพลงแล้วสร้างทำนองที่เชื่อมไปยังทำนองอื่น การสร้างความแปลกใหม่ในสำนวนทางกรอโดยสอดแทรกลูกล้อลูกขัดและทางเปลี่ยน การใช้จังหวะยก การซ้ำเสียงโดยเปลี่ยนกระสวนจังหวะ การใช้ทำนองซ้ำแล้วแยกทำนองจบ สิ่งเหล่านี้เป็นองค์ความรู้ในการจัดระเบียบและการร้อยเรียงเสียงเข้าด้วยกันอย่างไพเราะเกิดเป็นสำนวนเพลงเขมรที่มีลักษณะเฉพาะตัว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
พิชิต ชัยเสรี. (2556). การประพันธ์เพลงไทย. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มนตรี ตราโมท, และวิเชียร กุลตัณฑ์. (2523). ฟังและเข้าใจเพลงไทย. โรงพิมพ์ไทยเขษม.
มานพ วิสุทธิแพทย์. (2556). ทฤษฎีการวิเคราะห์เพลงไทย. สันติศิริการพิมพ์.
ยน เคียน, แกว ภูรีวรรณ, อี ลีณา, และเมา เฬณา. (2553). เครื่องดนตรีกัมพูชาโบราณ. (สกลสุภา ทองน้อย, ผู้แปล). วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2544). สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทยภาคประวัติและบทร้องเพลงเถา (พิมพ์ครั้งที่ 3).
สงัด ภูเขาทอง. (2532). การดนตรีไทยและทางเข้าสู่ดนตรีไทย. โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.
สุพจน์ จิตสุทธิญาณ. (2556). ความเข้าใจในทฤษฎีสุนทรียะ. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 9(2), 161-179.