การบริโภคสื่อของประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและผลกระทบจากการบริโภคสื่อของประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 รวมทั้งเปรียบเทียบผลกระทบจากการบริโภคสื่อของประชาชนแต่ละเจเนอเรชัน โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ และใช้เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล 2 ชนิด ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์จำนวน 448 ชุด และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 64 คน การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเป็นเครื่องมือ เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์ด้วยการเปรียบเทียบพหุคูณ ส่วนข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกนำมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 กลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลสำคัญบริโภคสื่อเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ปกติและส่วนใหญ่มีการบริโภคสื่อหลายช่องทาง สื่อที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ โทรทัศน์ รองลงมา ได้แก่ เฟซบุ๊ก และยูทูบ เนื้อหาที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ ละคร ซีรีส์ และภาพยนตร์ รองลงมาคือ เพลงและคอนเสิร์ต และไลฟ์ขายสินค้า ด้านข่าวสารและข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 พบว่ากลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลสำคัญให้ความสนใจเนื้อหาด้านจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตมากที่สุด รองลงมาเป็นข่าววัคซีน และการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 โดยติดตามจากรายการข่าวทางโทรทัศน์มากที่สุด รองลงมา ได้แก่ โพสต์ในเฟซบุ๊ก และบุคคลใกล้ชิด หลังการบริโภคสื่อแล้วพบว่า แต่ละเจเนอเรชั่นได้รับผลกระทบต่างกัน Gen B ได้รับผลกระทบน้อยกว่าเจเนอเรชั่นวาย (Gen Y) และ Gen Z ส่วนเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ (Gen X) ก็ได้รับผลกระทบน้อยกว่า Gen Z เช่นกัน โดย Gen B, Gen X และ Gen Z ได้รับผลกระทบด้านจิตใจมากที่สุดในระดับที่ต่างกัน รองลงมาเป็นผลกระทบด้านการดำเนินชีวิตและการสื่อสารในระดับที่ต่างกันเช่นกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
กรมควบคุมโรค. (2565). สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 อัพเดทรายวัน. https://public.tableau.com/views/SATCOVIDDashboard/1-dash-tiles?:showVizHome=no
กรมควบคุมโรค. (ม.ป.ป.). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/faq_more.php
กาญจนา แก้วเทพ. (2556). สื่อสารมวลชน: ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุฑาทิพย์ จันทร์ลุน. (2563). พฤติกรรมสารสนเทศในยุคโควิด-19. วารสารห้องสมุด, 64(2), 36-49.
ทัศนา พฤติการกิจ. (2558). บริบทชุมชนภายใตสังคมกึ่งเมืองกึ่งชนบท. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 9(1), 7-12.
ธีระศักดิ์ ทรัพย์ประเสริฐ, รักเกียรติ โรจน์กัญญาพร, พงศกร เอี่ยมสะอาด, คณัสนันท์ สงวนสัตย์, ศิริมาพร เจริญใน วงศ์เผ่า, พรเทพ แก้วเชื้อ, และจันทนา แสนสุข. (2566). คุณภาพชีวิตและความมั่นคงในการทำงานที่ส่งผล ต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานยุคโควิด-19 ของผู้มีงานทำในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 5(2), 433-447.
ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2563). รู้จักกับ Generation ต่าง ๆ. Popticles. https://www.popticles.com/marketing/ know-your-generation/
ปัทมาภรณ์ สุขสมโสด, เด่นเดือน เลิศทยากุล ไชยยะ, และปฐมพงษ์ พุ่มพฤกษ์. (2566). พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ต่อ การเล่นพนันออนไลน์ของเยาวชนในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา, 15(2), 113-126.
มนัสวี ศรีนนท์. (2560). ทฤษฎีเจเนอเรชันกับกรอบวิธีคิด. จุลสารนวัตกรรม, 12(46), 3-7.
ศูนย์ข้อมูล Covid-19. (22 กันยายน 2565). ราชกิจจาฯ ประกาศ เรื่อง ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร [มีรูปภาพแนบ]. Facebook. https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/ราชกิจจาฯ-ประกาศ-เรื่อง-ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร/655330762751918/
สำนักงานสถิติจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2563). สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2553 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
เสมอ นิ่มเงิน. (2561). Generation กับพฤติกรรมการรับข่าวสารผ่านสื่อต่างๆ. กรมประชาสัมพันธ์. https://www.prd. go.th/th/content/category/detail/id/31/iid/5263
เสริมศิริ นิลดำ. (2558). คุณค่าข่าวในวิกฤตการณ์ทางสุขอนามัย. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 3(1), 6-25.
Chauhan, V., & Shah, H. (2020). An empirical analysis into sentiments, media consumption habits, and consumer behaviour during the Coronavirus (COVID-19) outbreak. Purakala (UGC Care Journal), 31(20), 353-378.
Christensen, C. M. (n.d.). Disruptive innovation. https://www.claytonchristensen.com/key-concepts/
Syallow, M. (n.d.). Media dependency theory in use. Academia.
https://www.academia.edu/9834996/Media_Dependency_Theory_in_Use