ประสิทธิภาพของการจัดการความปลอดภัย ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธรนครชัยศรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจให้เกิดผลสำเร็จตามความมุ่งหมายของทางราชการ รวมทั้งประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นตัวชี้วัดหนึ่งในการประเมินผลความสำเร็จขององค์กร การศึกษาวิจัยครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณลักษณะและประสิทธิภาพการจัดการความปลอดภัย ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และ2) คุณลักษณะในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการความปลอดภัย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรนครชัยศรี จำนวน 144 นาย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าความสัมพันธ์และการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านภาวะผู้นำมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านความต้องการการสัมฤทธิ์ผล และด้านการควบคุมตนเองในการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด และประสิทธิภาพการจัดการความปลอดภัย ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านผลลัพธ์ที่ได้รับจากการทำงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านภาระงานที่ได้รับมอบหมาย และด้านกระบวนการในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด และ 2) คุณลักษณะในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ด้านความต้องการการสัมฤทธิ์ผล ด้านภาวะผู้นำ และด้านสุขอนามัย ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการความปลอดภัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 54.80
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
กมลพร กัลยาณมิตร. (2559). แรงจูงใจ 2 ปัจจัยพลังสู่ความสำเร็จ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(3), 175-183.
เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์. (2540). ปรัชญาและแนวคิดเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง. (2559). การสร้างเครื่องมือการวิจัยทางการศึกษา. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐณภรณ์ เอกนราจินดาวัฒน์. (2560). ภาวะผู้นําทางการบริหารการพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ธีระ สินเดชารักษ์. (2555). สถิติประยุกต์: ปฐมบทแห่งการวิจัยทางสังคม. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภาคิน สีสุธรรม. (2560). การพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธรเมืองนนทบุรี ตามหลักพุทธบูรณาการ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
ภูมินทร์ สุมาลัย. (2557). การศึกษาความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
วันจักร น้อยจันทร์, และวรัชญา เซ่งประเสริฐ. (2566). การปฏิบัติในเชิงสิทธิมนุษยชนกับคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังสูงอายุ กรณีศึกษา: เรือนจำกลางนครปฐม. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์และการจัดการสังคม, 5(1), 65-76.
วาสนา ศิริสาร. (2557). ปัจจัยจูงใจและความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการหารายได้ระหว่างเรียนของนักศึกษาสถาบันการอาชีวศึกษาจังหวัดเชียงราย [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564).
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ. กองแผนงานอาชญากรรม. (2565). สถิติคดีอาญา. http://thaicrimes.org
สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ. (2565). แผนปฏิบัติราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. https://www.royalthaipolice.go.th
สิริวัฒน์ สายวิวัฒน์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานในฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศของธนาคารแห่งประเทศไทย [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Arnett, J. J. (2000). Emerging adulthood: A theory of development from the late teens through the twenties. American Psychologist, 55(5), 469-480.
Benhabib, J., & Bisin, A. (2002). Self-control and consumption-saving decisions: Cognitive perspectives. New York University.
Cormier, S., & Cormier, B. (1998). Interviewing strategies for helpers: Fundmental skills and cognitive behavioral interventions (4th ed.). Thomson Brooks/Cole.
Reckless, W. C. (1963). A non-causal explanation: Containment theory. Int'l Annals Criminology, 2, 220.