แนวทางการบริหารระบบสารสนเทศของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1

Main Article Content

เพ็ญนภา สุขเสริม
ภูผายาง ภูผายาง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารระบบสารสนเทศของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 2) เพื่อเปรียบเทียบแนวทางการบริหารระบบสารสนเทศของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารระบบสารสนเทศของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ในงานวิจัยนี้ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 จำนวน 321 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแนวทางการบริหารระบบสารสนเทศของสถานศึกษาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคําถามกับวัตถุประสงค์เท่ากับ 0.67 ถึง 1.00 และมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.960 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ F – test (One-Way ANOVA) และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการบริหารระบบสารสนเทศของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดเก็บข้อมูล รองลงมาคือ ด้านการนำข้อมูลไปใช้ ด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล และด้านการตรวจสอบข้อมูล ตามลำดับ และที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการเปรียบเทียบระดับแนวทางการบริหารระบบสารสนเทศของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา พบว่า ระดับความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูเกี่ยวกับแนวทางการบริหารระบบสารสนเทศของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล ด้านการตรวจสอบข้อมูล ด้านการประมวลผลข้อมูล ด้านการจัดเก็บข้อมูล ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล และด้านการนำข้อมูลไปใช้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ สุทธิอาจ. (2556). สภาพและปัญหาการดำเนินงานจัดทำระบบสารสนเทศงานวิชาการ โรงเรียนเอกชนในจังหวัดสกลนคร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 10(49), 69-76.

คมสันต์ ประจำจิตร. (2562). การบริหารระบบสารสนเทศ. Journal of Roi Kaensarn Academi, 4(1), 1-17.

จิตติมา เทียมบุญประเสริฐ. (2551). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. วี.เจ.พริ้นติ้ง.

ณัฎฐนันท์ แย้มไสว. (2559). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดระบบสารสนเทศ โรงเรียนในอำเภอบางละมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐชริดา บัณฑุกากาญจน์. (2559). การศึกษาสภาพและปัญหาการจัดระบบสารสนเทศของโรงเรียนราชดำริ กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทิพวัลย์ นนทเภท. (2559). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(1), 47-56.

บุญช่วย รวมกลาง. (2555). ความพึงพอใจของข้าราชการครูในการจัดระบบสารสนเทศของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 10 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

เพ็ญแข ศิริวรรณ. (2551). สถิติเพื่อการวิจัย. เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัลพับลิเคชั่น.

มณฑิรา คงยิ่ง. (2561). การจัดระบบสารสนเทศทางการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

มลจิรา บุญเสริม. (2561). แนวทางการบริหารระบบสารสนเทศของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

รัตพีรพัฒน์ ทะมานนท์. (2561). ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์.

วรรณวิมล คล้ายรัศมี. (2558). การจัดการระบบสารสนเทศของสถานศึกษาเอกชน เขตเทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

ศิรินภา แก้วกำมา. (2557). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดระบบสารสนเทศ ในโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอ สีคิ้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สายสุนีย์ จับโจร. (2558). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). การจัดระบบบริหารและสารสนเทศภายในสถานศึกษา.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2554). การจัดระบบบริหารและสารสนเทศภายในสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุขุมา เพ็งจันทร์, และอโนทัย ประสาน. (2559). การจัดการระบบสารสนเทศในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2), 38-46.

สุนันทา หาผลดี. (2557). แนวทางการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 31 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สุพล พรหมมาพันธุ์. (2554). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 3). โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สุริยา ทับน้อย. (2564). การปฏิบัติงานการจัดระบบสารสนเทศของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการ ประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

อัมรา กัลป์ปะ. (2561). การจัดระบบสารสนเทศในโรงเรียนวัดหวายเหนียว “ปุญสิริวิทยา” [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Likert, R., & Likert, J. G. (1976). New ways of managing conflict. McGraw-Hill.