การรับรู้และทัศนคติของผู้ต้องหาหรือจำเลย ต่อกระบวนการปล่อยตัวชั่วคราว

Main Article Content

นริศรา จริยะพันธุ์
สืบสกุล เข็มทอง
พีรพล เจตโรจนานนท์
โกสินทร์ เตชะนิยม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และทัศนคติของผู้ต้องหาหรือจำเลยที่มีต่อกระบวนการปล่อยตัวชั่วคราว โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบผสม ซึ่งใช้วิธีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถาม และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มผู้ต้องหาและจำเลยที่อยู่ระหว่างการสอบสวน การไต่สวน - พิจารณา และการอุทธรณ์ - ฎีกา ทั้งที่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวและไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว จำนวนทั้งสิ้น 482 คน ทั้งนี้ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการปล่อยตัวชั่วคราวของประเทศไทย กฎหมายกำหนดให้เป็นกระบวนการที่ต้องมีการร้องขอ มิใช่สิทธิที่ได้รับโดยอัตโนมัติ ซึ่งผู้ต้องหาหรือจำเลยส่วนใหญ่รับทราบข้อมูลและสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราวจากเอกสาร สื่อประชาสัมพันธ์ และทนายความ อย่างไรก็ตามผู้ต้องหาหรือจำเลยบางส่วนที่ไม่ได้ยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวทั้งที่เป็นสิทธิที่พึงจะได้รับตามกฎหมาย เนื่องจากขาดการรับรู้และความเข้าใจเรื่องสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยที่พึงมีในการยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว การขอใช้กำไลข้อเท้าอิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM) ในระหว่างการปล่อยตัวชั่วคราว และเรื่องขั้นตอนในการปล่อยตัวชั่วคราว รวมทั้งในการปฏิบัติการปล่อยตัวชั่วคราวค่อนข้างยึดโยงกับการใช้หลักประกันเป็นเครื่องมือในการควบคุมความเสี่ยง ดังนั้นจึงทำให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยบางกลุ่มไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการได้เนื่องจากปัญหาความพร้อมด้านการเงิน อย่างไรก็ตามกรณีที่มีการยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวและศาลมีคำตัดสินไม่ปล่อยตัวชั่วคราว ผู้ต้องหาหรือจำเลยบางส่วนยังไม่ได้รับการสื่อสาร ตลอดจนการชี้แจงเหตุผลที่ไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ซึ่งปัญหาการขาดการรับรู้และความเข้าใจดังกล่าวส่งผลต่อทัศนคติของผู้ต้องหาหรือจำเลยที่มีต่อกระบวนการปล่อยตัวชั่วคราว ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรปรับปรุงกระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ที่ดี และสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราว เพื่อช่วยยกระดับการเข้าถึง และการสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อกระบวนการยุติธรรมของประชาชนต่อไป


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2558). คำอธิบายกฎหมายอาญาภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 10). พลสยาม.

ทินกรณ์ ทองบุราณ, กรันต์ ธนธูเทพ, พิศิษฐ์ กันธทิพย์, และมนไท ประมูลจักโก. (2560). การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของจำเลยในคดีอาญา: กรณีการขอปล่อยตัวชั่วคราว. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์, 1(2), 50-58.

นันท์นภัส สุปิยะพันธ์, ประทีป ทับอัตตานนท์, และสอาด หอมมณี. (2558). การปล่อยชั่วคราวโดยการนำมาตรการคุมขังแบบไม่ควบคุมตัว โดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 12(1), 179-189.

รุ่งโรจน์ สุวรรณสิชณน์. (2565). ปัญหาสิทธิมนุษยชนในกระบวนยุติธรรมทางอาญาว่าด้วยการปล่อยชั่วคราวในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 42(2), 36-53.

สำนักงานศาลยุติธรรม. สำนักแผนงานและงบประมาณ. (2562). รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ศาลยุติธรรมและสำนักงานศาลยุติธรรม.

สำนักงานศาลยุติธรรม. สำนักแผนงานและงบประมาณ. (2563). รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ศาลยุติธรรมและสำนักงานศาลยุติธรรม.

สุวรรณา คุณดิลกณัฐวสา, ณรงค์ กุลนิเทศ, และสุดาวรรณ สมใจ. (2557). การปล่อยตัวชั่วคราวกับความเป็นธรรมทางสังคมที่เล็งเห็นโดยพนักงานกระบวนการยุติธรรมทางอาญา: ศึกษากรณีจังหวัดนครสวรรค์. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 20(2.2), 133-143.

Berlo, D. K. (1960). The process of communication: An introduction to theory and practice. Holt, Rinehart and Winston.