ความวิตกกังวลต่อการใช้สื่อออนไลน์ของผู้สูงอายุในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

เด่นเดืน เลิศทยากุล ไชยยะ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการลดความวิตกกังวลต่อการใช้สื่อออนไลน์ของผู้สูงอายุในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยการทดลองเก็บข้อมูลจากผู้สูงอายุจำนวน 34 คน พบว่า ผู้สูงอายุใช้สมาร์ทโฟนในการเข้าถึงสื่อออนไลน์มากที่สุดเนื่องจากพกพาสะดวก หาซื้อง่ายและใช้งานง่าย ราคาถูกกว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทอื่น และนิยมใช้แอปพลิเคชันไลน์ในการติดต่อสื่อสารออนไลน์เนื่องจากมีความซับซ้อนในการใช้งานน้อยที่สุด ส่วนความวิตกกังวลในการใช้สื่อออนไลน์ของผู้สูงอายุแบ่งออกเป็น ส่วนที่ 1 ความวิตกกังวลในการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ การใช้งานส่วนต่อประสาน การเรียนรู้การใช้งาน การไม่รู้ประโยชน์จากการใช้งานสมาร์ทโฟน ค่าใช้จ่ายในการใช้งานสูงเกินไป และกังวลเรื่องไม่มีคนให้สอบถามเมื่อมีคำถาม ส่วนที่ 2 ความวิตกกังวลในการใช้สื่อออนไลน์ของผู้สูงอายุ ได้แก่ ความกังวลใจในความปลอดภัยจากการรับข้อมูลข่าวสาร ความไม่มั่นใจในความปลอดภัยจากการบริการธุรกรรมออนไลน์ และกังวลเรื่องการตกเป็นเหยื่อการตลาดออนไลน์
แนวทางการลดความวิตกกังวลในการใช้สื่อออนไลน์ของผู้สูงอายุต้องอาศัยความร่วมมือหลายภาคส่วน ดังนี้ 1) ส่วนผู้ใช้สื่อ: ต้องมีทักษะการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล 5 ด้าน ได้แก่ การเข้าถึง การวิเคราะห์ การประเมิน การสร้างสรรค์ และการสะท้อนกลับ 2) ส่วนสถาบันครอบครัว: ควรให้ความใส่ใจ ดูแลและให้ความรู้เรื่องการใช้สื่อออนไลน์อย่างเท่าทันแก่ผู้สูงอายุ 3) ส่วนกำกับดูแลสื่อและเทคโนโลยี: ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่รองรับการใช้งานของผู้สูงอายุ และ 4) ส่วนนโยบาย/ภาครัฐ: ส่งเสริมให้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ และสื่อสร้างสรรค์ปลอดภัยแก่ผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถใช้สื่อดิจิทัลได้อย่างเท่าทัน


 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). สถิติผู้สูงอายุ. https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/2449

จุฬาลักษณ์ อิ่มแก้ว. (2566). สูงวัยอย่างไรให้ปลอดภัยในยุคดิจิทัล. เดอะ ประชากร. https://www.thepracha korn.com/newsDetail.php?id=802

ชัชชญา เรืองยศ. (2563). การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงวัย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธนะวัฒน์ วรรณประภา. (2560). สื่อออนไลน์กับการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(1),7-20.

ธามม วงศ์สรรคกร, ชาญเดช เจริญวิริยะกุล, และอัครมณี สมใจ. (2566). การรับรู้ประโยชน์ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของผู้สูงอายุ. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 6(1), 168-178.

ประชาธิป กะทา. (2563). ทำไมผู้สูงอายุโพสและแชท: การศึกษาการใช้สื่อออนไลน์บนโทรศัพท์มือถือของผู้สูงอายุ. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

ประวีณ์นุช แสงสว่างธรรมมะ. (2567). เกมออนไลน์เพื่อการรู้เท่าทันสื่อ "หยุด คิด ถาม ทำ" และผลสำรวจสถานการณ์และผลกระทบจากการใช้สื่อของผู้สูงอายุ. มหาวิทยาลัยมหิดล. https://mahidol.ac.th/temp/2022/03/press.pdf

พีรวิชญ์ คำเจริญ, และวีรพงษ์ พลนิกรกิจ. (2562). การรู้เท่าทันดิจิทัล: วิวัฒนาการ ความหมายและการสังเคราะห์ ทักษะ. วารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์, 1(2), 72-81.

รุจา รอดเข็ม, และสุดารัตน์ ไชยประสิทธิ์. (2562). สังคมสูงวัย: เทคโนโลยีกับผู้สูงอายุ. วารสารมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 13(2), 36-45.

วิชนี คุปตะวาทิน, แมน วาสนา, พรทิพย์ ขนดี, และรัชตา มิตรสมหวัง. (2561). สังคมสูงวัยกับโลกสมัยใหม่. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 4(ฉบับพิเศษ), 444-450.

ไววิทย์ จันทร์วิเมลือง, และวีรพงษ์ พลนิกรกิจ. (2561). การศึกษาความสามารถในการใช้งานของผู้สูงอายุที่มีต่อขนาดและรูปร่างปุ่มบทสามาร์ทโฟนเพื่อสร้างแบบจำลองตรรกศาสตร์คุลมเคลือ. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 10(19), 121-135.

สุณิสา รื่นมาลี, และธีรวุฒิ นิลเพ็ชร์. (2563). ภัยคุกคามทางไซเบอร์ในสังคมสูงวัยของไทย. วารสารอาชญาวิทยาและสังคมศาสตร์, 2(1), 31-47.

สุทธยา สมสุข. (2563). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุ. วารสารปาริชาตมหาวิทยาลัยทักษิณ, 33(1), 62-77.

อธิชา วุฒิรังษี. (2564). การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของผู้สูงอายุ. วารสารสหศาสตร์, 21(1), 90-106.

อัคริมา บุญอยู่. (2561). Digital literacy คืออะไร. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ, 66(207), 28-29.

Blaschke, C. M., Freddolino, P. P., & Mullen, E. (2009). Ageing and technology: A review of the research literature. The British Journal of Social Work, 39(4), 641-656.

Ooi, K. B., & Tan, G. W. H. (2016). Mobile technology acceptance model: An investigation using mobile users to explore smartphone credit card. Journal of Expert Systems with Application, 59, 33-46.

Venkatesh, V., & Davis, F. (2000). A theoretical extension of the technology acceptance model: Four longitudinal field studies. Management Science, 46(2), 186-204.