การพัฒนาแบบวัดทักษะกีฬากาบัดดี้สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพแบบวัดทักษะกีฬากาบัดดี้สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย การกีฬาแห่งชาติ โดยสร้างเกณฑ์ปกติสำหรับการแปลความหมายคะแนนจากแบบวัดทักษะกีฬากาบัดดี้และพัฒนาคู่มือการใช้ของแบบวัดทักษะกีฬากาบัดดี้สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ประชากรที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ นักกีฬากาบัดดี้ทีมชาติไทยที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ จำนวน 12 คน และนักศึกษาที่ลงทะเบียนในปีการศึกษา 2567 ที่ผ่านการเรียนวิชาทักษะกีฬากาบัดดี้ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชุมพรปีการศึกษา 2565 จำนวน 7 คน ประชากรที่ใช้ในการสร้างเกณฑ์ปกติ ได้แก่ นักศึกษาที่ลงทะเบียนในปีการศึกษา 2567 ที่ผ่านการเรียนวิชาทักษะกีฬากาบัดดี้ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชุมพร ปีการศึกษา 2566 จำนวน 19 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนสูงสุด คะแนนต่ำสุด พิสัย ฐานนิยม มัธยฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์โดยวิธีของเพียร์สัน และคะแนนที
ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบวัดทักษะกีฬากาบัดดี้สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ประกอบด้วย ทักษะการรุก ได้แก่ การก้าวเท้า การสัมผัสด้วยมือ การสัมผัสด้วยปลายเท้า การเตะ และการข้ามเส้นโบนัสเพื่อได้คะแนนพิเศษ ทักษะการรับ ได้แก่ ทักษะการจับข้อเท้า ทักษะการจับขา ทักษะการจับเอวหรือลำตัว และ ทักษะการสกัดกั้น 2) คุณภาพของแบบวัดทักษะกีฬากาบัดดี้มีค่าความตรงตามตามเนื้อหา อยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00 มีค่าความเที่ยงโดยวิธีการวัดซ้ำ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์โดยวิธีของเพียร์สันของทักษะการรุก อยู่ระหว่าง 0.91 – 1.00 และทักษะการรับอยู่ระหว่าง 0.91 – 1.00 และมีค่าความเที่ยงระหว่างผู้ประเมิน มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์โดยวิธีของเพียร์สันของทักษะการรุก อยู่ระหว่าง 0.91 – 0.97 และทักษะการรับ อยู่ระหว่าง 0.91 – 0.99 3) เกณฑ์ปกติของแบบวัดทักษะกีฬากาบัดดี้สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ เป็นเกณฑ์ปกติที ทักษะการรุก มีคะแนนดิบระหว่าง 17 คะแนน ถึง20 คะแนน มีคะแนนทีปกติระหว่าง 40 - 58 ทักษะการรับ มีคะแนนดิบระหว่าง 11 คะแนน ถึง 14 คะแนน มีคะแนนที่ปกติระหว่าง 25 – 52 4) คู่มือการใช้แบบวัดทักษะกีฬากาบัดดี้สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ที่จัดทำขึ้นมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (4.72+0.26)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
กมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2559). การวัดและประเมินทักษะการปฏิบัติ. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เจนวิทย์ ดิษขนาน. (2563). รูปร่างนักกีฬากาบัดดี้ชั้นนำของไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ.
โชติกา ภาษีผล. (2559). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2564). เทคนิคการวัดและประเมินผลการเรียนรู้. เพชรเกษมการพิมพ์.
มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชุมพร. คณะศึกษาศาสตร์. (2563). หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาพลศึกษา (4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563).
ยงยุทธ ตันสาลี, และโชคชัย ปัญญาคำ. (2564). การสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬายิงธนูเพื่อความเป็นเลิศ. วารสารพลศึกษา, 24(2), 28-37.
รายาศิต เต็งกูสุลัยมาน. (2561). ทักษะและการสอนกีฬากาบัดดี้. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติวิทยาเขตกระบี่.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2564). ทฤษฎีการประเมิน (พิมพ์ครั้งที่ 8). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมาคมกีฬากาบัดดี้แห่งประเทศไทย. (2563). เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรผู้ฝึกสอนกีฬากาบัดดี้ ระดับชาติ ขั้นกลาง (Level-2).
Laxmeshwar, B., & Amarnath, K. (2019). Development of kabaddi offensive skills test for high school boys. International Journal of Physiology, Nutrition and Physical Education, 4(1), 608-610.
Manjunatha, S. K., & Prakash, S. M. (2017). Construction of norms for kabaddi skill tests. International Journal of Physical Education, Sports and Health, 4(4), 328-329.