การศึกษาทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ในการป้องกันความรุนแรงในสถานศึกษา สำหรับครูที่ปรึกษา

Main Article Content

อัฐฉญา แพทย์ศาสตร์
เพ็ญนภา กุลนภาดล
ประชา อินัง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ในการป้องกันความรุนแรงในสถานศึกษาสำหรับครูที่ปรึกษาเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคกลาง สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ  กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูที่ปรึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคกลาง สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 613 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ในการป้องกันความรุนแรงในสถานศึกษาสำหรับครูที่ปรึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบวัดทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ในการป้องกันความรุนแรงในสถานศึกษาสำหรับครูที่ปรึกษา ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีจำนวน 25 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60 - 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.20 – 0.74 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.87  2. ผลการใช้แบบวัดทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ในการป้องกันความรุนแรงในสถานศึกษาสำหรับครูที่ปรึกษา พบว่า ครูที่ปรึกษาที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ตราด และสระแก้ว มีทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ในการป้องกันความรุนแรงในสถานศึกษาสำหรับครูที่ปรึกษาในภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับดี


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เด็ก นร.ถูกครูสาวโรงเรียนชื่อดังในอุบลตบต่อหน้าเพื่อนเผยครูมาขอโทษพ่อแม่ที่บ้านแล้ว. (30 พฤษภาคม 2566). แนวหน้า. https://www.naewna.com/local/734219

นลินทิพย์ คชพงษ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14(2), 1-12.

ปราณี มีหาญพงษ์, และกรรณิการ์ ฉัตรดอกไม้ไพร. (2561). การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(1), 10-13.

มิ่งขวัญ ภาคสัญไชย. (2555). การวิจัยและพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาปริญญาตรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วนัสนันท์ ชูรัตน์. (2564). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยใช้รูปแบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ร่วมกับอินโฟกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องกรด-เบส [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วีรวัฒน์ ยกดี. (2565). การพัฒนาลักษณะเฉพาะของแบบวัดความฉลาดรู้ทางสุขภาวะสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารการวัดผลการศึกษา, 39(105), 13-27.

ศศิพิมล ประพินพงศกร. (2560). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้วยการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ตามทฤษฎีกิจกรรมโดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมห้องสมุดสำหรับนิสิตวิชาชีพสารสนเทศ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (พิมพ์ครั้งที่ 2).

สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). สถิติข้อมูลทางการศึกษา ปีการศึกษา 2565. http://www.bopp.go.th/?page_id=1828

สิทธิชัย ชมพูพาทย์. (2554). การพัฒนาพฤติกรรมการเรียนการสอนเพื่อการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของครูและนักเรียนในโรงเรียนส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการเชิงวิพากษ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย. (2565). การปกป้องเด็กในโรงเรียน (ประเทศไทย). https://www.unicef.org/thailand/th/press-releases/การปกป้องเด็กในโรงเรียน

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). Harper & Row.

Vangundy, A. B. (1987). Creative problem solving. Greenwood Press.

World Health Organization. (2002). World report on violence and health.