กลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ผ่านมุมมองของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นแซด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิจัยกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์บํารุงผิวในผู้บริโภคเจเนอเรชั่นแซด 2) ศึกษาทำความเข้าใจมุมมองทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อ/เลือกซื้อผลิตภัณฑ์บํารุงผิวในผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นแซด กลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์บํารุงผิวในผู้บริโภคเจเนอเรชั่นแซด กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ คือ ผู้บริโภคเจเนอเรชั่นแซด ที่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 18-27 ปี จำนวน 14 คน วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีการสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคลด้วยคำถามปลายเปิด ทำการเก็บข้อมูลด้วยการบันทึกเสียง และถอดเทปข้อมูลคําต่อคํา จากนั้นรวมข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยกระบวนการวิเคราะห์แก่นสาระ (thematic analysis) ผลการวิจัยพบว่าผู้บริโภคเจเนอเรชั่นแซด เลือกซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวตามความจำเป็น โดยเลือกผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับสภาพผิว และปัญหาผิวของตนเอง ความสวยงามของบรรจุภัณฑ์ ความสะดวกในการใช้ และความน่าเชื่อถือของแบรนด์ก็มีความสำคัญ นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมใหม่ มีผลลัพธ์ที่ชัดเจนส่งผลให้ดึงดูดความสนใจซื้อ ผู้บริโภคเจเนอเรชั่นแซดให้ความสำคัญกับความคุ้มค่า โดยเปรียบเทียบราคากับคุณภาพ และปริมาณของผลิตภัณฑ์ก่อนการตัดสินใจซื้อ อาสาสมัครยินดีจ่ายเพื่อเพิ่มคุณภาพที่ดีกว่า การซื้อผ่านหน้าร้านยังคงเป็นที่นิยมเนื่องจากความสะดวกในการเห็นสินค้าจริง ในขณะที่การซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ก็ได้รับความนิยมสูงเนื่องจากความสะดวกรวดเร็ว ในส่วนของกลยุทธ์ส่งเสริมการขาย โดยเฉพาะส่วนลด การลดราคาพิเศษมีผลต่อการตัดสินใจซื้ออย่างมาก ขณะที่ตัวแทนสินค้าไม่มีผลมากเท่าการแสดงความเห็นจากผู้ใช้งานจริงหรืออินฟลูเอนเซอร์ ทั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การตลาดดิจิทัล การส่งเสริมการขาย และคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดและรักษาความสนใจซื้อ โดยผู้บริโภคให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่มีรายละเอียดที่ชัดเจน การตลาดดิจิทัลทั้งออนไลน์ และออฟไลน์มีบทบาทสำคัญ โดยเฉพาะการตลาดบนโซเชียลมีเดีย การโพสต์เนื้อหาที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อย่างสม่ำเสมอและสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีหรือรีวิวจากผู้ใช้งานจริงและอินฟลูเอนเซอร์จะช่วยดึงดูดความสนใจได้ นอกจากนี้ราคาต้องสมเหตุสมผลกับคุณภาพมีความสะดวกในการซื้อ และกลยุทธ์ส่งเสริมการขายที่น่าสนใจ สามารถช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคกลุ่มนี้ งานวิจัยนี้ผู้อ่านสามารถดัดแปลงเพื่อทำวิจัยเชิงปริมาณเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูล และผู้ประกอบอาจสามารถนำไปประยุกต์ใช้เชิงกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อส่งเสริมยอดขายของผลิตภัณฑ์ได้ในอนาคต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
กาญจนาวดี สาลีเทศ, และณัฐพัชร์ อภิวัฒน์ไพศาล. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางในระบบออนไลน์ของ GEN Z ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 3(3), 329-343.
ชุติมณฑน์ ทิพย์จินดาชัยกุล. (2562). พฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าประเภทลดริ้วรอยผ่าน Paid search ของคน Gen Z [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วรินทร์ทิพย์ กำลังแพทย์. (2559). การตลาดออนไลน์กับผู้บริโภคยุค XYZ. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(2), 1-17.
ศิริจรรยา เครือวิริยะพันธุ์, และโอปอล์ สุวรรณเมฆ. (2563). รูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชัน Z. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 11(1), 23-37.
สมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย. (2566). อัพเดทมูลค่า-เทรนด์ ‘ตลาดความงาม’ ในยุคที่คน(ต้อง)สวย ภายใต้หน้ากาก.https://www.thaicosmetic.org
สุนทรีย์ สองเมือง. (2565). พฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มเจนเนอเรชัน Z และกลยุทธ์การตลาดดิจิทัล 4.0 ที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าในจังหวัดนนทบุรี. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 15(1), 116-127.
Beresford Research. (2024). Age range by generation. https://www.beresfordresearch.com/age-range-by-generation/
Fromm, J., & Read, A. (2018). Marketing to Gen Z: The rules for reaching this vast, and very different, generation of influencers. AMACOM.
Hennink, M., & Kaiser, B. N. (2022). Sample sizes for saturation in qualitative research: A systematic review of empirical tests. Social Science & Medicine, 292, 114523.