การสร้างแบรนด์ “คู่จิ้น” ในละครซีรีส์วาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างแบรนด์ “คู่จิ้น” ในละครซีรีส์วาย และ 2) เพื่อศึกษาการสื่อสารแบรนด์ “คู่จิ้น” ในละครซีรีส์วายกับกลุ่มแฟนคลับ ผู้วิจัยศึกษาคู่จิ้น 2 คู่ คือ ไบร์ท-วิน และ หยิ่น-วอร์ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลกับกลุ่มผู้ผลิตละครซีรีส์วาย ผู้บริหารฝ่ายการตลาด จำนวน 4 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการสร้างแบรนด์ “คู่จิ้น” มี 2 ลักษณะด้วยกัน คือ (1) การสร้างแบรนด์ “คู่จิ้น” แบบครบวงจร เริ่มจากการเป็นนักแสดงละครซีรีส์วาย จากนั้นเกิดเป็นคู่จิ้น และสามารถเป็น พรีเซนเตอร์ให้กับแบรนด์สินค้าต่างๆ และพัฒนาจนกลายเป็นไอดอลระดับนานาชาติ มาถึงจุดที่กลายแบรนด์แอมบาสเดอร์ให้กับแบรนด์สินค้าระดับโลก คือ คู่จิ้น “ไบร์ท-วิน” (2) การสร้างแบรนด์ “คู่จิ้น” แบบต่อยอดซึ่งเป็นการพัฒนาจากคู่จิ้นที่ถูกสร้างไว้แล้ว ประสบความสำเร็จมีชื่อเสียง เป็นที่รู้จัก และผู้ผลิตละครซีรีส์วายจึงนำ คู่จิ้นคู่นี้มาแสดงนำในละครซีรีส์วาย เพื่อทำให้นักแสดงมีชื่อเสียงเพิ่มมากยิ่งขึ้น คือ คู่จิ้น “หยิ่น-วอร์” 2. การสื่อสารแบรนด์ “คู่จิ้น” มีข้อแตกต่างกันใน 2 บริษัทที่ศึกษา สำหรับนักแสดง “ไบร์ท-วิน” ทางบริษัทจีเอ็มเอ็มทีวี เลือกใช้กลยุทธ์การสื่อสารออนไลน์ เลือกใช้สื่อออนไลน์ที่มีอยู่เพื่อการเข้าถึงกลุ่มผู้ชมเป้าหมายที่เป็นวัยรุ่น มีการนำเสนอในหลากหลายช่องทางเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย สำหรับนักแสดง “หยิ่น-วอร์” แฟนคลับรักตัวนักแสดงมากกว่าตัวละครในซีรีส์เรื่อง “กลรักรุ่นพี่” ดังนั้น เพื่อทำการสื่อสารกับกลุ่มแฟนคลับโดยเฉพาะ ทาง WeTV Thailand จึงเลือกใช้โชเชียลมีเดียเป็นหลัก โดยเน้นกลยุทธ์การสื่อสารผ่านช่องทางทวิตเตอร์และ YouTube เป็นหลัก เนื่องจาก WeTV Thailand ไม่มีช่องสถานี โทรทัศน์เป็นของตนเอง ทำให้นักแสดง “หยิ่น-วอร์” ไม่สามารถสร้างการรับรู้ในวงกว้างได้เท่ากับนักแสดง “ไบร์ท-วิน”
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
กฤตพล สุธีรภัทรกุล. (2563). การประกอบสร้างตัวละครชายรักชายในซีรีส์วาย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
กฤตพล สุธีภัทรกุล. (2566). “ซีรีส์วาย” คอนเทนต์พันล้าน สื่อนอกจับตา อาจเทียบชั้น “K-POP”. กรุงเทพธุรกิจ. https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/entertainment/1062305
จเร สิงหโกวินท์. (2560). ถอดผ้าขายร่างในละครสาววาย. ใน นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ (บรรณาธิการ), เมื่อร่างกายเป็นเพศ: อำนาจนิยมใหม่ของเพศวิถีในสังคมไทย (น. 150-186). พงษ์วรินการพิมพ์.
จิตติมา สุทธิวนิช. (2563). การสร้างแบรนด์บุคคลของผู้นำเสนอข่าวทางสื่อโทรทัศน์ที่ประสบความสำเร็จ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
จุติมาศ เกลี้ยงเกลา. (2556). ภาพลักษณ์ของกลุ่มศิลปินนักร้องเกาหลีใต้ผ่านสื่อใหม่และพฤติกรรมแฟนคลับ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ฉัตรชัย พิศพล. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกรับชมซีรีส์วายของผู้บริโภค Generation Z. วารสาร สหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(3), 42-50.
ณัฐฐธนนท์ ศุขถุงทอง, และภูวิน บุญยะเวชชีวิน. (2562). ซีรีส์วาย: ข้อพิจารณาเบื้องต้นทางสถิติ. International Journal of East Asian Studies, 23(2), 360-383.
ธนรัชต์ สุอังคะ. (2561). การเล่าเรื่องและความพึงพอใจของผู้ชมที่มีต่อละครโทรทัศน์ “ชายรักชาย” [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2560). ชายหนุ่มเป็นวัตถุทางเพศและการปรับขบวนเพศวิถีในละครชายรักชาย. ศูนย์มานุษยวิทยา สิรินธร (องค์การมหาชน).
นุชณาภรณ์ สมญาติ. (2561). ซีรีส์วาย (Y): ลักษณะเฉพาะและการนำเสนอความรักของชายรักชาย. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานระดับชาติ ครั้งที่ 1. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. http://hs.ssru.ac.th/useruploads/files/20181003/718d4 dc58fed4855031 dd6d992543a161ccfabfa.pdf
ปราณ สุวรรณทัต. (2563). เพราะเราคู่กัน #คั่นกู ซีรีส์ Y ที่ต่อลมหายใจให้ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์-ช่องทีวี. Brand Inside. https://brandinside.asia/y-series-tv-book-business/
ปรเมษฐ ปานเปี่ยมเกียรติ. (2562). ความคาดหวังของแฟนคลับที่มีต่อคู่รักหนุ่มไทยที่มีชื่อเสียง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มีคู่ไหนให้ได้มากกว่านี้ คริส-สิงโต บุก! สิงคโปร์, ฮ่องกง, เกาหลี. (2561). ไทยรัฐออนไลน์. https://www.thairath.co.th/entertain/news/1281421
ระชานนท์ ทวีผล, และปริญญา นาคปฐม. (2560). กระบวนการนำเสนอขายผลิตภัณฑ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของ ‘เน็ตไอดอล’: การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9(ฉบับพิเศษ), 118-130.
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2560). อ่านวรรณกรรม Gen Z. แสงดาว.
ศศิธร กลัดเจริญ. (2558). กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ศิลปินให้มีชื่อเสียงโดยนักปั้นที่เป็นผู้จัดการผู้จัดการ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
หัสพร ทองแดง. (2561). กระบวนการสร้างและการสื่อสารแบรนด์ภายในองค์กรกับพฤติกรรมการสนับสนุนแบรนด์ของพนักงานองค์กรเอกชนรุกตลาดอาเซียน [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Admink. (2563). กระแสคู่จิ้นจากคอนเทนตส์สายวายมาแรง “ไบร์ท –วิน” ดัน 3 บริการ LINE ทะยานทุบสถิติสูงสุดของแพลตฟอร์ม. Brand Buffet. https://www.brandbuffet.in.th/2020/05/y-series-brightwinxlinetv-create-phenomenalhit-line
Boon-anake, N. (2020). The study of behavior and perception of the people who consume the 'Boy-Love' media [Master’s thesis]. Thammasat University.
LINE. (2563). LINE Insights ชี้เศรษฐกิจใหม่ หัวใจ “Y” โอกาสครองใจผู้บริโภคยุค 2020. https://linecorp.com/th/pr/news/th/2020/3483
LINE TV. (2563). ไปให้สุด "ไบร์ท-วิน" พา #คั่นกู ครองอันดับ 1 worldwide. https://today.line.me/th/v2/article/ไปให้สุด+“ไบร์ท+วิน”+พา+คั่นกู%C2%A0ครองอันดับ+1+worldwide-E1Nr9vMarketingoops. (2563). เปิดเรตติ้งการ์ตูนฮิต – ละครดัง – วาไรตี้ฮอตบน "LINE TV". https://www.marketingoops.com/reports/industry-insight/line-tv-rating-and-video-views-february-2020/
Montoya, P., & Vandehey, T. (2002). The personal branding phenomenon. Perter Montoya.
Montoya, P., & Vandehey, T. (2009). The Branding called you. McGraw-Hill.
Phahulo, S., & Boonnak, P. (2015). Net idol. Thinking, 6(5), 12.