การแสดงเป็นชุดเป็นตอนที่ปรากฏในละครรำแบบปรับปรุง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง การแสดงเป็นชุดเป็นตอนที่ปรากฏในละครรำแบบปรับปรุง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและรวบรวมการแสดงเป็นชุดเป็นตอนที่ปรากฏในละครรำแบบปรับปรุง ในด้านประวัติความเป็นมา ดนตรีและเพลง การแต่งกาย ท่ารำ และกระบวนรำ วิธีดำเนินการวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มุ่งเน้นที่การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร บทความทางวิชาการ หนังสือ ตำรา สื่อออนไลน์ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำข้อมูลที่ได้มาศึกษา วิเคราะห์ และตีความ สรุปเป็นผลการวิจัย เพื่อเป็นประโยชน์ของการศึกษา และการสืบทอดการแสดงเป็นชุดเป็นตอน ตามหลักสูตรของการศึกษาสาขานาฏศิลป์ไทย
ผลการวิจัยพบว่า การแสดงเป็นชุดเป็นตอนที่ปรากฏในละครรำแบบปรับปรุง สามารถแยกตามประเภทของการแสดงได้ 4 ประเภท คือ 1) รำเดี่ยว 2) รำคู่ 3) ระบำและฟ้อน 4) การแสดงที่เป็นละคร เมื่อพิจารณาจากประวัติความเป็นมาและเนื้อหาของการแสดงทั้งรำเดี่ยว รำคู่ และการแสดงที่เป็นละคร พบว่าเป็นการแสดงของตัวเอก หรือตัวละครสำคัญในเรื่องหรือในตอนที่ตัดมาแสดง ท่ารำและกระบวนรำเป็นลักษณะของการตีบท การรำทำบทหรือรำใช้บทตามบทร้องและทำนองเพลง ใช้ท่ารำแบบมาตรฐา โดยนำแม่ท่าจากการรำเพลงช้าเพลงเร็วและการรำแม่บทใหญ่ รวมทั้งนาฏยศัพท์ และภาษาท่ามาร้อยเรียงเป็นท่ารำ ตามลักษณะของตัวละครที่กล่าวถึง นักแสดงจะต้องเข้าถึงบทบาทของตัวละครนั้น ๆ และต้องมีความเข้าใจลักษณะและกลวิธีของการแสดงละครประเภทนั้น ๆ ด้วย ในส่วนของระบำและฟ้อนที่ปรากฏในการแสดง เป็นการแสดงที่ครูอาจารย์ได้ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อเสริมให้การแสดงละครสมบูรณ์ชวนติดตามมากยิ่งขึ้น ซึ่งการประดิษฐ์รำ ระบำ และฟ้อน เพื่อประกอบการแสดงละครยังปรากฏมาจนถึงปัจจุบันนี้ ทั้งนี้การแสดงทั้ง 4 ประเภทยังปรากฏอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนของสถาบันทั้งในระดับอุดมศึกษาและมัธยมศึกษา เพียงแต่ใช้ชื่อรายวิชาแตกต่างกันออกไป เช่น รำเดี่ยว-รำคู่ ระบำอนุรักษ์ อาศรมศึกษา ระบำมาตรฐาน ทักษะนาฎศิลป์ไทย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
กรมศิลปากร. สำนักการสังคีต. (27 กันยายน 2561). รำฉุยฉาย “กษัตรารามัญชื่อนั้นราชาธิราช”. Facebook. https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1878482252 267760&type=3&_rdr
จตุพร ภักดี. (27 กรกฎาคม 2558). พลายยงตรวจพล [วีดิทัศน์]. Youtube. https://youtu.be/9KMdyyD8bSo
จิตติมา นาคีเภท, และวรวิทย์ ทองเนื้ออ่อน. (2563). พระราชธิดาทรงเครื่อง. ใน หนังสือประกอบวีดีทัศน์เพื่อการศึกษาโครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผู้เชี่ยวชาญ ครั้งที่ 13 ชุด: ระบำ รำเดี่ยว รำคู่ ในละครพันทาง เรื่อง ราชาธิราช. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
จุฑาวัฒน์ โอบอ้อม. (2565). คุณูปการของ เสรี หวังในธรรม ด้านนาฎกรรม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฉันทวัฒน์ ชูแหวน. (2 กันยายน 2562). รำฉุยฉาย สมิงนครอินทร์ [วีดิทัศน์]. Youtube. https://youtu.be/_otNJhP6iRg
ธีรพัฒน์ ทองฟัก. (22 มกราคม 2563). พระเจ้าปดุงตรวจพล [วีดิทัศน์]. Youtube. https://youtu.be/qiCl_OWhz2g
นุชนาฏ ดีเจริญ. (2566). การแสดงเป็นชุดเป็นตอนที่ปรากฏในละครรำแบบปรับปรุง. สาขาดนตรีนาฏศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา.
ประภาพรรณ ภูเก้าล้วน. (2549). การรำตรวจพลของตัวนางกษัตริย์ในละคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ผุสดี หลิมสกุล. (2549). รำเดี่ยวแบบมาตรฐานตัวนาง (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). (2554). ราชบัณฑิตยสถาน.
รุ่งนภา ฉิมพุฒ, และวรวิทย์ ทองเนื้ออ่อน. (2563). สมิงพระรามแต่งตัว. ใน หนังสือประกอบวีดีทัศน์เพื่อการศึกษาโครงการสืบทอดนาฏศิลป์ไทยจากศิลปินแห่งชาติหรือผู้เชี่ยวชาญ ครั้งที่ 13 ชุด: ระบำ รำเดี่ยว รำคู่ ในละครพันทาง เรื่อง ราชาธิราช. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ลักขณา แสงแดง. (4 กุมภาพันธ์ 2565). ลาวทองแต่งตัว (Ver.Thai) (2564) [วีดิทัศน์]. Youtube. https://youtu.be/mERpaHW69fs
ลักขณา แสงแดง. (5 มิถุนายน 2567). รำนางสร้อยทองทรงเครื่อง [วีดิทัศน์]. Youtube. https://youtu.be/sHSbRmmhVPM
ศิรดา ทิพย์จักร์. (7 กันยายน 2567). รำเดี่ยวมาตรฐาน 2567 ชุด “ฉุยฉายพระลอ” มหาวิทยาลัยนเรศวร [วีดิทัศน์]. Youtube. https://youtu.be/C89Ud0X88kQ
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. คณะศิลปนาฏดุริยางค์. (4 พฤศจิกายน 2565). ศิลปนาฏยวาทิต EP20 l ฉุยฉายขุนแผนแสนสะท้าน บุหลันลอยเลื่อน [วีดิทัศน์]. Youtube. https://youtu.be/Q19xyIpU0kw
สวภา เวชสุรักษ์. (2555). เอกสารคำสอนวิชาทักษะนาฏยศิลป์ไทยตัวนาง 3 เรื่อง รำคู่. ภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สวภา เวชสุรักษ์. (2560). ละครดึกดำบรรพ์. คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สารานุกรมศิลปากร (ฉบับปฐมฤกษ์). (2556). ศิลปากรสมาคม.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2550). เสรี หวังในธรรม อดีต “ยามกรมศิลป์”. ใน อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพนายเสรี หวังในธรรม ม.ว.ม., ป.ช.
ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ศิลปะการละคร) ณ วัดตรีทศเทพวรวิหาร วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม 2550 (น. 66-67). [ม.ป.ท.].
สุภัค มหาวรากร. (2555). การแปรรูปบทละครเรื่องอิเหนา. ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.
อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพนายเสรี หวังในธรรม ม.ว.ม., ป.ช. ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ศิลปะการละคร) ณ วัดตรีทศเทพวรวิหาร วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม 2550. (2550). [ม.ป.ท.].
เอก อรุณพันธ์. (27 มกราคม 2563). รำฉุยฉาย สมิงพระราม [วีดิทัศน์]. Youtube. https://youtu.be/Aa4boRpQX7k