Author Guidelines
คำแนะนำสำหรับผู้แต่ง
การเตรียมบทความสำหรับวารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า
สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า เป็นวารสารสื่อกลางในการเผยแพร่ความรู้ทั้งบทความวิจัยและบทความวิชาการในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งทางสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา บทความที่จะผ่านการพิจารณาตีพิมพ์จะต้องผ่านการพิจารณา จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน บทความชุดนี้เป็นตัวอย่างในการจัดรูปแบบบทความเพื่อจัดพิมพ์ในวารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า ผู้เขียนบทความสามารถจัดรูปแบบบทความตามตัวอย่างที่แสดงในบทความนี้ ซึ่งทางวารสารได้ทำการตั้งค่าขนาดหน้ากระดาษ รูปแบบหน้าแรก รูปแบบและขนาดตัวอักษร คำอธิบายสำหรับการเขียนบทความ วิธีการเขียนเนื้อเรื่อง รวมถึงเอกสารอ้างอิงรูปแบบ ตัวอักษรต่าง ๆ วิธีการใส่รูปภาพ ตาราง ผู้เขียนบทความสามารถดาวน์โหลดเอกสารชุดนี้ได้จากเว็บไซต์ของวารสาร หรืออีเมล์ติดต่อกองบรรณาธิการที่ อีเมล krungkao.arursjournal @gmail.com
1. การเตรียมบทความสำหรับวารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า
วัตถุประสงค์
- เพื่อเผยแพร่บทความวิจัย และบทความวิชาการ ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
โดยครอบคลุม ด้านบริหารธุรกิจ ด้านการศึกษา ด้านรัฐศาสตร์ ด้านนิติศาสตร์ ด้านวัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจ และประวัติศาสตร์ - เพื่อเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ใหม่ ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
นโยบายการจัดพิมพ์
วารสารเปิดรับบทความวิจัยแบบเต็มรูปแบบ (Research Article) และบทความวิชาการ (Academic Articles) จากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยบทความดังกล่าวจะต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อน และเป็นข้อคิดเห็นของผู้ส่งบทความเท่านั้น
วารสารเปิดรับบทความวิจัย และบทความวิชาการ ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยครอบคลุม ด้านบริหารธุรกิจ ด้านการศึกษา ด้านรัฐศาสตร์ ด้านนิติศาสตร์ ด้านวัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจ และประวัติศาสตร์
เกณฑ์การพิจารณาบทความ
บทความจะผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขานั้น จำนวน 3 ท่าน โดยใช้วิธีการประเมินแบบ Double Blinded กรณีมีข้อเสนอแนะแก้ไขจากผู้ทรงคุณวุฒิ กองบรรณาธิการจะดำเนินการแจ้งให้ผู้เขียนปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และทรงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตัดสินตีพิมพ์ให้หรือไม่ก็ได้
ข้อมูลเผยแพร่ : https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru
วารสารกำหนดออกเผยแพร่ : ปีละ 3 ฉบับ ได้แก่
ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน
ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม
ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม
2. คำแนะนำในการจัดเตรียมต้นฉบับ
การจัดรูปแบบบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ผู้เขียนบทความสามารถจัดรูปแบบบทความตามตัวอย่างที่แสดงใน Template ซึ่งทางวารสารได้ทำการตั้งค่าขนาดหน้ากระดาษ รูปแบบหน้าแรก รูปแบบและขนาดตัวอักษร คำอธิบายสำหรับการเขียนบทความ วิธีการเขียนเนื้อเรื่อง การเขียนอ้างอิง การเขียนสมการทางคณิตศาสตร์ การใส่ภาพและตาราง ผู้เขียนสามารถดาวน์โหลดเอกสารชุดนี้ได้จากเว็บไซต์ของวารสาร
2.1 บทความวิจัย
มีความยาวไม่ต่ำกว่า 8 หน้ากระดาษ แต่ไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ B5 ประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียน (Title) สถานที่ทำงาน (Work place of author & co-authors) การติดต่อผู้เขียน (Contact address of correspondence) บทคัดย่อ (Abstract) และคำสำคัญ (Keywords ไม่เกิน 5 คำ) โดยเนื้อหาดังกล่าวทั้งหมดข้างต้นต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
บทความวิจัยเนื้อเรื่องจะประกอบด้วย
บทนำ
- ความเป็นมาและความสำคัญของงานวิจัย
- วัตถุประสงค์ของการวิจัย
- ขอบเขตของการวิจัย
- สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)
- กรอบแนวคิดในการวิจัย (ถ้ามี)
วิธีดำเนินการวิจัย
สรุปผลการวิจัย
อภิปรายผล
ข้อเสนอแนะ
การอ้างอิงใช้แบบ APA
2.2 บทความวิชาการ
มีความยาวไม่ต่ำกว่า 8 หน้ากระดาษ แต่ไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ B5 เป็นบทความที่รวบรวมหรือเรียบเรียงจากหนังสือ เอกสาร ประสบการณ์หรือเรื่องแปล เพื่อเผยแพร่ความรู้ในสาขาต่าง ๆ หรือแสดงข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์มีคุณค่าทางวิชาการ
บทความวิชาการ มีความยาวไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ B5 ประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียน (Title) สถานที่ทำงาน (Work place of author & co-authors) การติดต่อผู้เขียน (Contact address of correspondence) บทคัดย่อ (Abstract) และคำสำคัญ (Keywords ไม่เกิน 5 คำ) โดยเนื้อหาดังกล่าวทั้งหมดข้างต้นต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
บทความวิชาการเนื้อเรื่องจะประกอบด้วย
- บทนำ
- เนื้อหา
- บทสรุป
- การอ้างอิงใช้แบบ APA
- การส่งต้นฉบับ
ผู้เขียนต้องส่งต้นฉบับบทความ พร้อมกรอกแบบฟอร์มนำส่งบทความวิจัย/บทความวิชาการ ซึ่งระบุวิธีการจัดส่งในเอกสารแบบฟอร์มดังกล่าว โดยส่งผ่านระบบเว็บไซต์ของวารสารที่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru
- รูปแบบบทความวิจัยและการพิมพ์เนื้อหาของเรื่อง
เพื่อความสะดวกในการแก้ไข ควรใช้โปรแกรม Microsoft Word for windows พิมพ์บนกระดาษ B5 โดยตั้งหน้ากระดาษดังนี้ ขอบกระดาษด้านบน – ล่าง 1.5 ซม. ขอบกระดาษด้านซ้ายและขวา 1.5 ซม.
4.1 รูปแบบและขนาดอักษร
ตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษรแบบ TH SarabunPSK สีดำเท่านั้นโดยกำหนดรูปแบบ ขนาด และรายละเอียดดังนี้
รูปแบบ (Types of texts) |
บทความภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ (ตัวอักษรแบบ TH SarabunPSK) |
|
ขนาด (Size) |
ตัวพิมพ์อักษร (Typeface) |
|
ชื่อบทความทั้งภาษาไทยและอังกฤษ (Title) |
18 |
ตัวหนา (Bold) |
ชื่อผู้เขียน (Author & co-authors) |
16 |
ตัวหนา (Bold) |
การติดต่อผู้เขียน (Contact address of correspondence) |
12 |
ตัวธรรมดา (Normal) |
หัวเรื่องบทคัดย่อ (Abstract heading) |
16 |
ตัวหนา (Bold) |
บทคัดย่อและเนื้อเรื่องหลัก (Abstract & main texts) |
14 |
ตัวธรรมดา (Normal) |
หัวข้อคำสำคัญ (Keywords) |
14 |
ตัวหนา (Bold) |
หัวข้อเรื่องหลักและตัวเลข (Section heading & number) |
16 |
ตัวหนา (Bold) |
หัวข้อเรื่องรองและตัวเลข (Subsection heading & number) |
14 |
ตัวหนา (Bold) |
4.2 หน้าแรก
หน้าแรกของบทความจะประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียนและผู้เขียนร่วม บทคัดย่อ และเชิงอรรถบ่งบอกตำแหน่งและสถานที่ทำงานของผู้เขียนและผู้เขียนร่วม ให้พิมพ์หน้าแรกทั้งแบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษเรียงตามลำดับ
4.2.1 ชื่อเรื่อง พิมพ์อยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ เริ่มจากชื่อภาษาไทยแล้วตามด้วยชื่อภาษาอังกฤษ ขนาดและตัวพิมพ์อักษร และรายละเอียดไฟล์รูปแบบบทความ
4.2.2 ชื่อผู้เขียน พิมพ์อยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ ไว้หลังชื่อเรื่อง และเว้น 1 บรรทัด ทั้งด้านบน และใต้ชื่อผู้เขียน ถ้ามีมากกว่า 1 คนให้พิมพ์คำว่า “และ” หน้าชื่อคนสุดท้าย ไม่ต้องใส่คำนำหน้าชื่อใด ๆ ทั้งสิ้น และให้ใช้ตัวเลขอารบิคพิมพ์แบบตัวยกต่อท้ายชื่อ เพื่อแสดงความแตกต่างของสถานที่ทำงานดังตัวอย่างประกอบหน้าแรก
4.2.3 บทคัดย่อ (Abstract) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์หัวเรื่องคำว่า “บทคัดย่อ” สำหรับบทคัดย่อภาษาไทย และ “Abstract” สำหรับบทคัดย่อภาษา-อังกฤษ โดยจัดให้อยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ สำหรับคำว่า “Abstract” เฉพาะตัวอักษร “A” เท่านั้นที่ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ ส่วนเนื้อความ ให้จัดพิมพ์เป็นแบบ 1 คอลัมน์ โดยบรรทัดแรกให้ย่อหน้า 1.5 ซม. และมีอย่างละย่อหน้าเดียว ทั้งนี้บทคัดย่อไม่ควรใส่เอกสารอ้างอิงใด ๆ ทั้งสิ้น และมีจำนวนคำไม่เกินอย่างละ 360 คำ
4.2.4 คำสำคัญ (Keywords) ภาษาไทยและภาษา-อังกฤษ พิมพ์หัวเรื่องคำว่า “คำสำคัญ” โดยพิมพ์ไว้ใต้บทคัดย่อภาษาไทย เว้น 1 บรรทัด และจัดชิดซ้ายของคอลัมน์ คำสำคัญในแต่ละบทความควรจะมีประมาณไม่เกิน 5 คำ ให้พิมพ์หัวเรื่องคำว่า “Keywords” (เฉพาะตัวอักษร “K” เท่านั้นที่ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่) โดยพิมพ์ไว้ใต้ บทคัดย่อภาษาอังกฤษ และให้ใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะตัวแรกของคำแรกของแต่ละคำสำคัญเท่านั้น
4.2.5 ตำแหน่ง และสถานที่ทำงาน ให้พิมพ์สถานที่ทำงานของผู้เขียนทุกคน โดยเรียงตามหมายเลข และ Email address จากชื่อผู้เขียน โดยอยู่ด้านล่างของหน้าแรก
4.3 ส่วนอื่น ๆ ของบทความ
เนื้อเรื่อง ได้แก่ บทนำ ขอบเขตการวิจัย วัสดุ-อุปกรณ์และวิธีการวิจัย/ทดลอง ผลการวิจัย/ทดลอง วิจารณ์/อภิปรายผล บทสรุป กิตติกรรม-ประกาศ (ถ้ามี) เอกสารอ้างอิง และภาคผนวก (ถ้ามี) โดยไม่ต้องเว้นบรรทัด เมื่อจะขึ้นหัวข้อใหม่ให้เว้น 1 บรรทัด การพิมพ์หัวข้อให้พิมพ์ชิดซ้ายของแต่ละคอลัมน์ ส่วนของเนื้อเรื่องให้ย่อหน้า 5 เคาะ
การลำดับหัวข้อในเนื้อเรื่อง ให้ใส่เลขกำกับ โดยให้บทนำเป็นหัวข้อหมายเลขที่ “1.” และหากมีการแบ่งหัวข้อย่อย ก็ให้ใช้ระบบเลขทศนิยมกำกับหัวข้อย่อย เช่น 1.1, 1.1.1, 1.2, 1.2.1 เป็นต้น
4.4 การจัดรูปภาพ ตาราง และการเขียนสมการ
รูปภาพทุกรูปและตารางจะต้องมีหมายเลข และคำบรรยายอย่างชัดเจน
4.4.1 รูปภาพ
รูปภาพที่เตรียมควรมีขนาดความกว้างไม่เกิน 15 ซม. และความละเอียดที่เหมาะสม โดยตัวอักษรที่ปรากฏในรูปภาพจะต้องมีขนาดใหญ่สามารถอ่านได้สะดวก โดยทุกรูปภาพที่ใส่ไว้ท้ายบทความจะต้องมีการกล่าวอ้างในเนื้อบทความทุกรูปภาพ และรูปภาพทั้งหมดควรมองเห็นชัดเจนเมื่อบทความถูกพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์
การเขียนคำบรรยายใต้ภาพ ให้ใช้ TH SarabunPSK ขนาด 14 โดยพิมพ์ตัวหนาสำหรับหัวเรื่องและหมายเลขของรูป และพิมพ์ตัวธรรมดาสำหรับคำอธิบายรูปภาพ จัดพิมพ์ไว้กึ่งกลางคอลัมน์
รูปลายเส้นของรูปภาพจะต้องเป็นเส้นสีดำ ส่วนรูปถ่ายควรจะเป็นรูปขาวดำที่มีความคมชัด รูปสีอนุโลมให้ได้ รูปภาพควรจะมีรายละเอียดเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และ เพื่อความสวยงามให้เว้นบรรทัดเหนือรูปภาพ 1 บรรทัด และเว้นใต้คำบรรยายรูปภาพ 1 บรรทัด
4.4.2 ตาราง
ตารางทุกตารางจะต้องมีหมายเลข และคำบรรยายกำกับเหนือตาราง โดยปกติให้ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาด 14 Point โดยพิมพ์ตัวหนาสำหรับหัวเรื่องและหมายเลขของตาราง และพิมพ์ตัวธรรมดาสำหรับคำอธิบายตาราง ถ้ามีข้อมูลฟุตโน้ตด้านล่างของตารางให้ใช้ตัวหนังสือเป็นแบบเดียวกันหากแต่ขนาดตัวอักษรเป็น 12 Point ให้จัดพิมพ์ชิดซ้ายของคอลัมน์ เพื่อความสวยงาม ให้เว้นบรรทัดเหนือคำบรรยายตาราง 1 บรรทัด และเว้นบรรทัดใต้ตาราง 1 บรรทัด
5. เอกสารอ้างอิง
การอ้างอิงใช้แบบ APA 7th (หัวข้อใช้ TH SarabunPSK 16 Point ตัวหนา) ทุกการอ้างอิงที่ปรากฏในข้อการอ้างอิง จะต้องมีในส่วนเอกสารอ้างอิงในเนื้อบทความ และห้ามใส่เอกสารอ้างอิงโดยปราศจากการอ้างอิงในเนื้อบทความ
5.1. การอ้างอิงในเนื้อหา โดยอ้างอิงแบบนาม-ปี ระบุชื่อผู้เขียน ปีที่พิมพ์ และเลขหน้าเอกสารไว้ท้ายของข้อความที่ต้องการอ้างอิง (TH SarabunPSK 14 Point)
5.2. การอ้างอิงท้ายบทความ ทุกการอ้างอิงที่ปรากฏในเนื้อหาจะต้องมีในส่วนเอกสารอ้างอิงในเนื้อบทความและห้ามใส่เอกสารอ้างอิงโดยปราศจากการอ้างอิงในเนื้อบทความ การขึ้นบรรทัดที่สองให้เคาะเจ็ดเคาะ (TH SarabunPSK 14 Point)
ตัวอย่าง
หนังสือ
ชื่อผู้แต่ง./(ปีพิมพ์)./ชื่อหนังสือ/(พิมพ์ครั้งที่)./สำนักพิมพ์.
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ไม่มี DOI
ภาษาไทย >> ชื่อผู้แต่ง./(ปีพิมพ์)./ชื่อหนังสือ./(พิมพ์ครั้งที่)./URL
บทความในหนังสือ
ชื่อผู้แต่ง./(ปีพิมพ์)./ชื่อบทหรือชื่อบทความ./ใน/ชื่อบรรณาธิการ/(บ.ก.), ชื่อหนังสือ/(น./x-xx)./สำนักพิมพ์.
บทความวารสาร
ชื่อผู้แต่ง./(ปีพิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/ปีที่(ฉบับที่),/หน้าแรก-หน้าสุดท้าย.
บทความในวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (มีเลข DOI)
ชื่อผู้แต่ง./(ปีพิมพ์).ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/เลขปีที่(ฉบับที่),/เลขหน้า./http://doi.org/เลข doi
หนังสือพิมพ์และหนังสือพิมพ์ออนไลน์
ชื่อผู้แต่ง./(ปี,/วัน/เดือน)./ชื่อคอลัมน์./ชื่อหนังสือพิมพ์,/เลขหน้า.
วิทยานิพนธ์
ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อวิทยานิพนธ์/(หมายเลข UMI หรือ เลขลำดับอื่น ๆ)/[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต หรือวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ชื่อมหาวิทยาลัย]/ชื่อฐานข้อมูล.
เอกสารประชุมวิชาการ
ชื่อผู้แต่ง./(วัน,/เดือน,/ปี)./เรื่องที่ประชุม./ใน/ชื่อ/(ประธาน),/ชื่อการประชุม/[Symposium]./ชื่องานที่จัดประชุม,/สถานที่ประชุม
ข้อมูลสืบค้นที่ได้จากอินเตอร์เน็ต
ชื่อ-สกุลผู้เขียน./(ปี/วัน/เดือนที่เผยแพร่)./ชื่อบทความ./ชื่อเว็บไซต์./URL
การสัมภาษณ์
ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์./(ปี, วัน เดือน)./ตำแหน่ง(ถ้ามี)./[บทสัมภาษณ์.]
วิธีเรียงการอ้างอิงให้หลักการเดียวกับการเรียงคำในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน