การพัฒนาความสามารถในการอ่านและการจำความหมายของคำศัพท์ ภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม โดยใช้แบบฝึก

ผู้แต่ง

  • นราวดี พันธุ์นรา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

ความสามารถในการอ่านคำศัพท์, ความสามารถในการจำความหมายของคำศัพท์, แบบฝีก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านคำศัพท์ภาษา อังกฤษของนักศึกษาก่อนและหลังการใช้แบบฝึก 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านคำศัพท์ ภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลังการใช้แบบฝึกกับเกณฑ์ (ร้อยละ60) 3) เปรียบเทียบความสามารถใน การจำความหมายของคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักศึกษาก่อนและหลังการใช้แบบฝึก และ 4) เปรียบ เทียบความสามารถในการจำความหมายของคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลังการใช้แบบฝึกกับ เกณฑ์ (ร้อยละ 60) กลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาที่เรียนวิชา ENG 222 : ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ที่มี ปัญหาด้านการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษและการจำความหมายของคำศัพท์ภาษาอังกฤษ จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึก ประกอบด้วย แบบฝึกคำศัพท์ พยางค์เดียว แบบฝึกคำศัพท์ 2 พยางค์ และแบบฝึกคำศัพท์มากกว่า 2 พยางค์ และแบบทดสอบการอ่าน และการจำความหมายของคำศัพท์ภาษาอังกฤษ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักศึกษาที่ได้รับการใช้แบบฝึกอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ มีความสามารถในการอ่านดีขึ้น โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนการใช้แบบฝึกคิดเป็นร้อยละ 17.64 และมีคะแนนเฉลี่ยหลังการใช้แบบฝึกเพิ่ม ขึ้นเป็นร้อยละ 66.29 และนักศึกษาที่ได้รับการใช้แบบฝึกเพื่อจำความหมายของคำศัพท์ภาษาอังกฤษมี ความสามารถในการจำความหมายของคำศัพท์ภาษาอังกฤษได้ดีขึ้น โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนการใช้ แบบฝึกคิดเป็นร้อยละ 8.14 และมีคะแนนเฉลี่ยหลังการใช้แบบฝึกเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 75.29 2. นักศึกษาที่ได้รับการใช้แบบฝึกส่วนใหญ่ (จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 71.43) มีความ สามารถในการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ และการจำความหมายของคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ผ่าน(ร้อยละ 60) มีส่วนน้อย (จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 28.57) ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ 60) แต่ ความสามารถในการอ่านและการจำความหมายของภาษาอังกฤษดีขึ้นกว่าก่อนการใช้แบบฝึกเกณฑ์

Downloads

Download data is not yet available.

References

ณัฐมน ชมศาสตร์. (2548). การวิจัยเรื่อง“การพัฒนาทักษะทางการเรียนด้านการอ่านสะกดคำ ภาษาอังกฤษ โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นสูง.” ชลบุรี: วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี. สืบค้นข้อมูลเมื่อ 16 มกราคม 2553 จาก http://www.chontech.ac.th/~reset/

ทิพย์วัลย์ รักษ์ชน. (2547). “การพัฒนาแบบฝึกการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2.” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

นัจธิชา จันทร์ศรี. (2551). “ความสัมพันธ์ระหว่างหัวเรื่องที่คุ้นเคย เพศ คำศัพท์ และความเข้าใจใน การอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย.” ปริญญานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร- วิโรฒ. มาลินี จุฑะรพ. (2541). จิตวิทยาการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ทิพยวิสุทธิ์.

ราตรี เชื้อบ่อคา. (2531). “การศึกษาเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ และการระลึก สิ่งที่อ่านได้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนอ่านโดยวิเคราะห์คำที่เป็น ปัญหาและการสอนอ่านตามคู่มือครู.” ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขา การมัธยมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วันเพ็ญ เขตทองคำ. (2548). “ผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารใน การพัฒนาความสามารถด้านการฟังและการพูดของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม โรงเรียนเทคโนโลยีบริหารธุรกิจเปรมฤทัย.” สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วาสนา กวางติ๊ด และคณะ. (2546). การวิจัยเรื่อง “การศึกษาปัญหาความคงทนในการจำคำศัพท์ของ นักเรียนชั้นป. 6.” ระยอง: โรงเรียนอัสสัมชัญ. สืบค้นข้อมูลเมื่อ 16 มกราคม 2553 จาก http://www.arc.ac.th/arc/Wijaii/5.doc

ศิธร แสงธนู และ คิด พงศทัต. (2521). คู่มือครูภาษาอังกฤษภาคทฤษฎีและปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

สฤษดิ์ ศรีขาว. (2546). “วิธีการเรียนรู้คำศัพท์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ.” งานวิจัย สาขาภาษาอังกฤษ สำนักวิชาเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2552). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

อภิรดี จริยารังษีโรจน์. (2545). “การศึกษากลวิธีการรู้คำศัพท์เกี่ยวกับศัพท์ทางวัฒนธรรมของ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษต่างกัน.” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-10-11

ฉบับ

บท

บทความวิจัย