การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยศรีปทุมโดยใช้ชุดฝึกการเขียนตามคำบอก

ผู้แต่ง

  • สุนิตย์ ยอดขันธ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

ทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ, การพัฒนาทักษะการเขียน, ชุดฝึกการเขียนตามคำบอก, ความพึงพอใจต่อการใช้ชุดฝึกการเขียนตามคำบอก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาโดยใช้ชุดฝึกการเขียนตาม คำบอกและเพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้ชุดฝึกการเขียนตามคำบอกของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่เรียนรายวิชา ENG 122 (English II) ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ (2) แบบทดสอบ วัดทักษะการเขียน (3) ชุดฝึกการเขียนตามคำบอกจำนวน 6 ชุด และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจ ต่อการใช้ชุดฝึกการเขียนตามคำบอกของนักศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที

ผลการวิจัยพบว่า (1) ทักษะการเขียนภาษาอังกฤษหลังเรียน โดยใช้ชุดฝึกการเขียนตามคำบอก สูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกษา หลังการใช้ชุดฝึกการเขียนตามคำบอกสูงกว่าเกณฑ์ (ร้อยละ 60) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 เมื่อพิจารณารายชุดพบว่า นักศึกษามีทักษะการเขียนภาษาอังกฤษผ่านเกณฑ์และสูงกว่าเกณฑ์ ยกเว้น ชุดที่ 2 ทักษะการเขียนคำยากและชุดที่ 5 ทักษะการเขียนประโยคที่นักศึกษามีทักษะต่ำกว่าเกณฑ์ (ร้อย ละ 60) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (3) ความพึงพอใจต่อการใช้ชุดฝึกการเขียนตามคำบอก ของนักศึกษาอยู่ในระดับมาก

References

กรรณิการ์ พวงเกษม. (2540). ปัญหาและกลวิธีการสอนภาษาไทยโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช. กาญจนา ปราบพาล. (2532). การทดสอบและประเมินผลสำหรับครูสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพมหานคร:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ขจรรัตน์ หงษ์ประยงค์. (2524). การสร้างแบบฝึกการเขียนคำพ้อง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (ภาษาไทย) กรุงเทพฯ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถ่ายเอกสาร.

ถาวร ทิศทองคำ. (2552). “การศึกษาความสามารถทางการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษเพื่อตอบ คำถามความเรียงของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาอังกฤษสังกัด สถาบันการศึกษาเอกชน.” วารสารภาษาปริทัศน์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ฉบับที่ 24 : 72-91.

นรา ธำรงสุข. (2536). การสร้างแบบฝึกการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสฤษดิเดช จังหวัดจันทบุรี. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การประถมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโวฒ. ถ่ายเอกสาร.

รัตนา ดีศาลา. (2544). ผลการใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษสำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดสระบัว สำนักงานเขตปทุมวัน สังกัดกรุงเทพมหานคร สารนิพนธ์ กศ.ม. (การวัดผลการศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโวฒ.

รัตนา เล็กพุก.(2537).การเปรียบเทียบความรู้และความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงบรรยาย ระหว่างนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชน กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เลิศลักษณ์ ศรีแสง. (2551). การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ. โรงเรียนโพนงามพิทยานุกูล.

วรวรรณ เปลี่ยนอุทิศ. (2540). แนวคิดและเทคนิควิธีสอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศศิธร จ่างภากร. (2531). ผลของกิจกรรมเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษต่อผลสัมฤทธิ์ทางการ เขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การประถมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร

ศรีมาลา พิมพะนิตย์. (2529). การเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ และ แรงจูงใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนเขียนโดยใช้กิจกรรม ผสมผสานเพื่อการสื่อสารและการสอนเขียนตามคู่มือครู. ปริญญานิพนธ์ กศ. ม. (การมัธยมศึกษา).กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.

สุภาณี ชินวงศ์. (14 สิงหาคม 2554). การศึกษาความสามารถในการเขียนของนิสิตวิชาภาษาอังกฤษ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2553 จาก http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/763

อรษา เณรตาก้อง. (2535). การเปรียบเทียบผลการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีกับการให้ข้อมูลย้อนกลับ ล่าช้าที่มีต่อความสามารถใน การแต่งประโยคภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาการศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.

อิงอร อมาตยกุล. (2535). การศึกษาความสามารถทางการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดกรมสามัญศึกษาเขตการศึกษา 1. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Barnard, R. and Zemach, Dorothy E. (2008). Writing for the Real World. Oxford: Oxford University Press. Krajka, Jarek. (2000). Using the Internet in ESL Writing Instruction. The Internet TESL Journal, 6, 11 (November 2000). Retrieved April 12, 2010 from http://www.iteslj.org.

Krol, E. (1994). The Whole Internet: User’s Guide & Catalog. Sebastopol, CA: O’Reilly & Associates, Inc. Lockwood,

Robyn Brinks. (2009). Sentence Writing: The Basics of Writing. Bangkok: Macmillan.

McCrimmon, P.M. and James, McCrimmon. (1978). Writing with a Purpose Shorted. Boston: Hougton Mifflin Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-10-11

ฉบับ

บท

บทความวิจัย