การพัฒนาคุณภาพอากาศภายในห้องสมุดของประเทศไทยสู่การยอมรับระดับสากล

ผู้แต่ง

  • ปาริมา ตันเจริญ
  • ปราณี อัศวภูษิตกุล

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอรายงานการพัฒนาคุณภาพอากาศภายในห้องสมุดของประเทศไทย เพื่อยกระดับคุณภาพอากาศภายในอาคารให้เป็นที่ยอมรับในมาตรฐานตามที่สากลกำหนดไว้ โดยอ้างอิงจากมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก มาตรฐานสุขาภิบาลของห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ แกลลอรี่ ห้องนิทรรศการ (GB 9669-1996) มาตรฐานคุณภาพอากาศภายในอาคารของประเทศสิงคโปร์ และนำมาปรับใช้ให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ซึ่งวิเคราะห์ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศภายในห้องสมุดของประเทศไทยได้ 6 ปัจจัย ได้แก่ การระบายอากาศที่มีประสิทธิภาพต่ำ การเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งภายในที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การละเลยในเรื่องของการดูแลรักษาทำความสะอาดอาคารและสิ่งของภายในอาคาร การเพิ่มก๊าซมลพิษและรังสีที่ไม่พึงประสงค์ การสร้างอาคารแบบปิดทำให้การไหลเวียนของอากาศแย่ลง และการละเลยการจัดการฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มาจากภายนอกอาคาร อีกทั้งยังมีข้อเสนอแนะในการจัดการปัญหาตาม 6 ปัจจัยหลักที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพอากาศภายในห้องสมุดของประเทศไทยต่อไป

References

Camfil. (2019). Indoor Air Quality – IAQ. Retrieved 10 November 2021, from https://www.camfil.com/th-th/insights/air-quality/indoor-air-quality-iaq

Chuamklang, W. (2020). The Prediction of Incidence of Respiratory Disease from Air Pollution and the Climate Variability in Nakhon Ratchasima Province by Using Statistic Model and Monte Carlo Simulation. Retrieved 13 November 2021, from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/download/201902/163804/

Ninpai, C. (2015). Sick Building Syndrome and Officers. Advanced Science Journal.15(1), 19-20. Retrieved 8 November 2021, from http://sci.bsru.ac.th/sciweb/e-magazine/15-1/chapter-2.pdf

Noichaisin, L., et al. (2019). Assessment of Ventilation Efficiency in Library Room Burapha University Sa Kaeo Campus. Burapha Science Journal. 24(3). 946.

Pobpad. (2016). SBS (Sick Building Syndrome). Retrieved 7 November 2021, from https://www.pobpad.com/sbs-โรคตึกเป็นพิษ

Pooma, R., et al. (2020). PM2.5 Reduction Tree. Forest and Plant Conservation Research Office. Retrieved 8 November 2021, from

https://www.dnp.go.th/botany/PDF/publications/PM25.pdf

Summacheeva Foundation. (2013). The Biological Effects of Weak Electromagnetic Fields. Retrieved 14 November 2021, from https://www.summacheeva.org/article/elf_emf

Wolverton et al. (1989). INTERIOR LANDSCAPE PLANTS FOR INDOOR AIR POLLUTION ABATEMENT. NASA Office of Commercial Programs.

Zengzhang Yang. (2017). Indoor air pollution and preventions in college libraries. IOP Conference Series: Earth and Environmental Science.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-05