การศึกษาผลการใช้แบบจำลอง SOS สำหรับหลักสูตรการเขียนภาษาอังกฤษในการศึกษาทางไกล

ผู้แต่ง

  • ชลรัศมิ์ สุริยารังสรรค์
  • วชิระ พรหมวงศ์
  • พิมพ์ประภา พาลพ่าย

คำสำคัญ:

การสอนภาษาอังกฤษ, การศึกษาทางไกล, การสอนแบบประสานเวลา, การสอนแบบไม่ประสานเวลา

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้แบบจำลอง SOS สำหรับหลักสูตรการเขียนภาษาอังกฤษในการศึกษาทางไกล โดยรูปแบบการเรียนการสอนด้วย SOS MODEL มีองค์ประกอบ 3 ส่วน ดังนี้ (1) การศึกษาด้วยตนเอง (Self-Study) เป็นการศึกษาเนื้อหาชุดวิชาผ่านการศึกษาจากเอกสารการสอนและวีดิโอการสอนบน STOU e-Learning จำนวน 15 โมดูล (2) การฝึกปฏิบัติออนไลน์ (Online Practice)   เป็นการให้นักศึกษาแต่ละคนได้ฝึกฝนการเขียนภาษาอังกฤษตามโจทย์ จำนวน 5 ครั้ง โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน และร่วมแลกเปลี่ยนข้อเสนอแนะเกี่ยวกับผลงานของเพื่อนในกลุ่ม (3) การสอนแบบประสานเวลา (Synchronous Teaching) หรือการสอนสด  (Live Instructor) เป็นช่องทางสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและนักศึกษา โดยการที่ผู้สอน บรรยายสรุปเนื้อหา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้สอบถามปัญหาจากการเรียนที่ผ่านมา เป็นเวลา 1 ครั้งต่อเดือน นอกจากนี้มีช่องทางการติดต่อสื่อสารโดยผ่านแอปพลิเคชัน Line เพื่อให้นักศึกษาไม่รู้สึกโดดเดี่ยวระหว่างการศึกษา โดยมีผู้สอนและนักเทคโนโลยีการศึกษา เป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) คอยช่วยเหลือ ตอบข้อสงสัยระหว่างการเรียนการสอน และสร้างแรงจูงใจในการเรียนให้กับนักศึกษา โดยการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษทางไกลด้วย SOS Model ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มสธ. ที่ลงเรียนในชุดวิชาการเขียนภาษาอังกฤษ ภาคปลาย ปีการศึกษา 2565 จำนวน 521 คน ระยะเวลาเรียน 4 เดือน ผลวิจัยพบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน และนักศึกษาแสดงความคิดเห็นในทางบวกจากการเรียนการสอนด้วย SOS MODEL ทั้งนี้งานวิจัยนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการศึกษาและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษทางไกลที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา และสามารถนำไปประยุกต์ใช้การเรียนการสอนภาษาอังกฤษทางไกลชุดอื่น ๆ ได้

 

References

Chitra and Raj (2018). The types of E-Learning. Retrieved 26 July 2023, from https://www.researchgate.net/figure/Figure-1-Figure-1-shows-the-types-of-E-Learning-Chitra-and-Raj-2018-describe-3-types_fig1_352329894

EF Education First. (2020). EF EPI 2020 - Thailand. EF Education First. Retrieved 26 July 2023, from https://www.ef.com/assetscdn/WIBIwq6RdJvcD9bc8RMd/cefcom-epi-site/reports/2020/ef-epi-2020-english.pdf

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Prangsorn, S. (2015). The Development of Model Learning with e-Learning media of Among Youth in Topic Local Wisdom by Community Participation Case Study Nakhon Pathom Province. Retrieved 7 Decamber 2023, from https://repository.rmutr.ac.th/bitstream/handle/123456789/700/rmutrconth_54.pdf?sequence=1&isAllowed=y

Sukhothai Thammathirat Open University. (2019). University Reform Performance Report (April- December 2019). Nonthaburi: The Office of the University Press Sukhothai Thammathirat Open University.

Udomtanateera, K. (2020). E-Learning Benefits of learning using electronic media (E-Learning Benefit). Retrieved 28 April 2020, from https://www.iok2u.com/article/information-technology/e-learning-e-learning-benefit

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-10 — Updated on 2024-01-19

Versions