การสื่อสารการตลาดดิจิทัลที่ส่งผลต่อการตอบสนองลูกค้าและการรับรู้คุณค่าตราสินค้าต่อผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเพาะเลี้ยงเห็ด จังหวัดนครนายก

Main Article Content

รุจิกาญจน์ สานนท์

บทคัดย่อ

   บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบโมเดลสมการโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการตลาดดิจิทัลการรับรู้คุณค่าตราสินค้าและการตอบสนองลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเพาะเลี้ยงเห็ด เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ ผู้เข้าชมสื่อดิจิทัลและซื้อผลิตภัณฑ์ชาเห็ดหลินจือแดง ผ่านช่องทางออนไลน์ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเพาะเลี้ยงเห็ด โดยไม่ทราบจำนวนที่แน่นอนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 394 คน ใช้วิธีการสุ่มตามสะดวกกับผู้ที่ให้ความร่วมมือ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม ผลการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของแบบสอบถามทั้งฉบับมีค่าคะแนนเท่ากับ 0.83 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานคือ การวิเคราะห์เส้นทางโมเดลสมการโครงสร้างโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ  ผลการวิจัยพบว่า โมเดลตามสมมติฐานการวิจัยสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยตัวแปรการสื่อสารการตลาดดิจิทัลมีอิทธิพลต่อการรับรู้คุณค่าตราสินค้า และการตอบสนองลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์ มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 1.77 และ 1.43 ตามลำดับ นอกจากนี้ตัวแปรการรับรู้คุณค่าตราสินค้า มีอิทธิพลต่อการตอบสนองลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์มีค่าอิทธิพลเท่ากับ - 0.32

Article Details

How to Cite
สานนท์ ร. (2024). การสื่อสารการตลาดดิจิทัลที่ส่งผลต่อการตอบสนองลูกค้าและการรับรู้คุณค่าตราสินค้าต่อผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเพาะเลี้ยงเห็ด จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 15(2), 37–50. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/truhusocjo/article/view/271833
บท
Research Article

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546). การใช้ SPSS for Window ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

กรุงเทพธุรกิจ. (2564, 8 ธันวาคม). 4 ความเปลี่ยนแปลง ยุคโควิด-19 สู่การปรับตัว Next Normal. สืบค้น มีนาคม 20, 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com/social/976332.

สโรชา บินสเล, และสุพัตรา คุ้มคง. (2559). รูปแบบการดำเนินธุรกิจสำหรับอีคอมเมิร์ซ. สืบค้น มีนาคม 20, 2565, จาก https://sites.google.com/site/karphanichyxilekthrxniks/raywicha-thi-sxn/raywicha-withyasastr.

Aaker, D.A. (1996). Building Strong Brands. New York: Free.

Bilgin, Y. (2018, April). The Effect of Social Media Marketing Activities on Brand Awareness, Brand Image and Brand Loyalty. Business & Management Studies: An International Journal, 6(1), 128 - 148.

Chinomona, R., & Maziriri, E. T. (2017, October). The Influence of Brand Awareness, Brand Association and Product Quality on Brand Loyalty and Repurchase Intention: A Case of Male Consumers for Cosmetic Brands in South Africa. Journal of Business and Retail Management Research, 12(1), 143 - 154.

Dewindaru, D., Syukri, A., Maryono, R. A., & Yunus, U. (2022, January). Millennial Customer Response on Social-media Marketing Effort, Brand Image, and Brand Awareness of A Conventional Bank in Indonesia. Linguistics and Culture Review, 6(S1), 397 - 412.

Hair, J., F., Black, W., C., Babin, B., J., & Anderson, R. E. (2010). Advanced Diagnostics for Multiple Regression: A Supplement to Multivariate Data Analysis. New Jersey: Prince-Hall.

Ngoma, M., & Ntale, P. D. (2019, March). Word of Mouth Communication: A Mediator of Relationship Marketing and Customer Loyalty. Cogent Business & Management, 6(1), 123 - 158.

Schiffman, L., G., & Kanuk, L. L. (1994). Consumer Behavior (5th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Seo, E., J., & Park, J. W. (2018, January). A Study on the Effects of Social Media Marketing Activities on Brand Equity and Customer Response in the Airline Industry. Journal of Air Transport Management, 66, 36-41.

Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis (2nd Ed.). New York: Harper and Row.

Zaidi, Z., & Shukri, S. (2022, January). The Effects of Digital Marketing Implementation on Online Consumer in Selangor During COVID-19 Pandemic. Management Science Letters, 12(1), 43 - 50.

Zailskaite-Jakste, L., & Minelgaite, I. (2021, June). Consumer Engagement Behavior Perspective in Social Media: Mediating Role and Impact on Brand Equity. Journal of Eastern European and Central Asian Research (JEECAR), 8(2), 160 - 170.