การพัฒนาความคิดรวบยอดด้านประวัติศาสตร์สากลและความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้อินโฟกราฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย The Conceptual Development on Universal History and Creative Thinking by Using Infographics of High School Students
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้อินโฟกราฟิก เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดด้านประวัติศาสตร์สากล ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้อินโฟกราฟิก เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และศึกษาเจตคติต่อการศึกษาประวัติศาสตร์สากลของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 วิทยาลัยนาฏศิลป จำนวน 34 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 4 แผน แบบวัดความคิดรวบยอดด้านประวัติศาสตร์สากล แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ แบบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ และแบบวัดเจตคติต่อการศึกษาประวัติศาสตร์สากล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีระดับความคิดรวบยอดอยู่ในระดับดี ( = 2.98, S.D. = 0.57) และความคิดรวบยอดด้านประวัติศาสตร์สากลของนักเรียนมีพัฒนาการที่สูงขึ้น นักเรียนมีระดับความคิดสร้างสรรค์อยู่ในระดับดี (
= 2.52, S.D. = 0.64) และความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนมีพัฒนาการที่สูงขึ้น นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ นักเรียนมีระดับเจตคติอยู่ในระดับดี (
= 2.92, S.D. = 0.82)
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น
References
กนกทิพย์ พัฒนาพัวพันธ์. (2543). สถิติเบื้องต้นทางการศึกษา. เชียงใหม่: ภาควิชาประเมินผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กูนกานต์ ปาจรีย. (2557). สรุปการประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “สร้างพลังแห่งการสื่อสารด้วยอินโฟกราฟฟิก”. สืบค้น สิงหาคม 10, 2562, จาก http://oots.anamai.moph.go.th/ewt_dl_link.php?nid=419.
ฆนัท ธาตุทอง. (2554). สอนคิด: การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการคิด. นครปฐม: เพชรเกษมการพิมพ์.
เฉลิม มลิลา นิติเขตต์ปรีชา. (2559). เทคนิควิธีการสอนประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชนาพร ยอดทองเลิศ. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมการละเล่นชาติพันธุ์ เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของนักเรียน โรงเรียนบ้านเทอดไทย จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2551). องค์ความรู้หลักสูตรและการสอนสังคมศึกษา. เชียงใหม่: ลูกช้างนานามีเดียเซ็นเตอร์.
ณรงค์ฤทธิ์ ศักดิ์แสน. (2560). ผลของการใช้กระบวนการเรียนการสอนแดคีร์ที่มีต่อการเข้าถึงความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ และเจตคติต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นาตยา ปิลันธนานนท์. (2542). การเรียนรู้ความคิดรวบยอด. กรุงเทพฯ: แม็ค.
นิปัทม์ ทิพยกมลพันธ์. (2558). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้สาระประวัติศาสตร์แบบบูรณาการ เรื่อง “เสรีไทยแพร่” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 6 โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด เล่ม ก, ข. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติและคณะ. (2558). การพัฒนารูปแบบการออกแบบสภาพแวดล้อมห้องเรียนเสมือนในการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
ปานวาด อวยพร. (2560). ผลการใช้อินโฟกราฟิกร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ II กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปิยะวรรณ จันทร์ดำ. (2561). ผลการใช้สื่อสิ่งพิมพ์แบบอินโฟกราฟิกที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง ฉบับเทคโนโลยีการศึกษา, 3(2), 65-66.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2549). การศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภคเมธา การสมใจ. (2559). การพัฒนาอินโฟกราฟิกแบบเคลื่อนไหวเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ภาณุพงษ์ ปุญญมาโนชญ์. (2561). ผลของการใช้วิธีการสอนแบบอุปนัยบนเว็บโดยใช้อินโฟกราฟิกที่มีต่อความสามารถในการคิดเชิงมโนทัศน์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีแบบการคิดต่างกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยุวรัตน์ จันทร์เติม. (2558). การสร้างความคิดรวบยอดทางภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้สื่อประสม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วรากรณ์ สามโกเศศ. (2556). Infographics ช่วยการเรียนรู้. สืบค้น สิงหาคม 10, 2562, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/490933.
วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2555). ครูสังคมศึกษากับการพัฒนาทักษะแก่นักเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริเพ็ญ ภู่มหภิญโญ. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาร่วมกับกระบวนการออกแบบอินโฟกราฟิกส์เพื่อเสริมสร้างการรู้ทางทัศนะและการสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาศิลปศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2545). การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง. กรุงเทพฯ: เดอะโนว์เลจ.
สิรัชญา พิมพะลา. (2561). การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ STEM โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 5(3), 71.
อัครเดช แสนณรงค์. (2557). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณรายวิชา ส 31102 ประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อังคณา ตุงคะสมิต. (2560). การวิจัยนวัตกรรมทางสังคมศึกษา. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ไอลดา มณีกาศ. (2557). การใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องภูมิศาสตร์ประเทศไทยเพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Serenelli, F., Ruggeri, E., Mangiatordi, A., & Ferri, P. (2011). Applying multimedia learning theory in primary school-an experimental study about learning settings using digital science contents. Paper presented at the European Conference on e-Learning. Brighton, UK.