ประสิทธิผลการดำเนินโครงการคนละครึ่งของรัฐในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

Main Article Content

จริญญา ปุญชลักข์

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการดำเนินโครงการคนละครึ่งของรัฐ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการดำเนินโครงการคนละครึ่งของรัฐ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการดำเนินโครงการคนละครึ่งของรัฐในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่งในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี จำนวน 400 ร้านค้า ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม จำนวน ... ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)


    ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยการดำเนินโครงการคนละครึ่งของรัฐในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี โดยภาพรวมนั้นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านเทคโนโลยีที่นำมาประยุกต์ใช้ ด้านความโปร่งใสของโครงการ ด้านความเป็นธรรมและความเสมอภาค ด้านการเข้าถึงและการให้บริการ และด้านความสะดวกรวดเร็วที่ได้รับ 2) ระดับประสิทธิผลการดำเนินโครงการคนละครึ่งของรัฐ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า โดยภาพรวมแล้วโครงการคนละครึ่งมีประโยชน์ต่อร้านค้าของท่านเพียงใด รองลงมาคือ ควรขยายระยะเวลาหรือเพิ่มเฟสสำหรับโครงการคนละครึ่งต่อไปในอนาคต และน้อยที่สุด คือโครงการคนละครึ่งของรัฐ สามารถกระจายรายได้สู่ผู้ประกอบการขนาดเล็กเพียงใด และ 3)  ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการดำเนินโครงการคนละครึ่งของรัฐในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี พบว่า ด้านความเป็นธรรมและความเสมอภาค ด้านความสะดวกรวดเร็วที่ได้รับ ด้านความโปร่งใสของโครงการ และด้านเทคโนโลยีที่นำมาประยุกต์ใช้ มีปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินโครงการคนละครึ่งของรัฐ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
ปุญชลักข์ จ. . (2022). ประสิทธิผลการดำเนินโครงการคนละครึ่งของรัฐในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 13(3), 125–140. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/truhusocjo/article/view/257335
บท
Research Article

References

กระทรวงการคลัง. (2564). สถิติของผู้เข้าร่วมโครงการคนละครึ่งของรัฐบาล. สืบค้น สิงหาคม 6 2564, จาก https://shorturl.asia/ZRDb1.

กัสมา บุญมาก. (2564). ปัจจัยความพึงพอใจที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโครงการคนละครึ่งของรัฐบาล สำหรับประชาชนผู้ได้รับสิทธิ ในกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

คนละครึ่งดอทคอม. (2564). โครงการคนละครึ่ง. สืบค้น สิงหาคม 5, 2564, จาก https://www.xn--42caj4e6bk1f5b1j.com/.

จุฑาพร ลัดกระทุ่ม. (2564). ประสิทธิผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์: กรณีศึกษาประชาชน หมู่บ้านวิเศษสุขนคร อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ยุทธภูมิ จารุเศร์นี, และภัทร จารุวัฒนมงคล. (2564). ภูมิทัศน์เศรษฐกิจไทยปี 2564. สืบค้น กันยายน 10, 2564, จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/938230.

วรรณศิริ บดีรัฐ, ปรียานุช พรหมภาสิต, และตรรกพร สุขเกษม. (2564). ประสิทธิผลของมาตรการเยียวยาเราไม่ทิ้งกัน ตามความคิดเห็นของประชาชน บ้านปากคลองใต้ หมู่ที่ 3 ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาราชภัฏกำแพงเพชร.

ศิริทัศน์ เขตตานุรักษณ์. (2564, มกราคม). ประสิทธิผลของมาตรการชิมช็อปใช้: การประเมินเชิงนโยบายและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. พัฒนาการเศรษฐกิจปริทรรศน์, 15(1), 60 - 80.

สุวัชรีย์ พรหมบุญมี. (2563). คนละครึ่ง โครงการจากรัฐ กระตุ้นเศรษฐกิจลึกถึงฐานราก. สืบค้น มิถุนายน 25, 2564, จาก https://rb.gy/aqirf5.

สำนักงานสถิติจังหวัดลพบุรี. (2564). ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานของรัฐบาล พ.ศ. 2564 (ครบ 1 ปี 6 เดือน). สืบค้น กรกฎาคม 18, 2564, จากhttp://lopburi.nso.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=591:20012021&catid=122&Itemid=678.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น (2566-2570). สืบค้น กรกฎาคม 15, 2564, จาก https://shorturl.asia/YpWcb.

อนุวัฒน์ โพธิ์ทอง, และกัลป์ยกร วรกุลลัฏฐานีย์. (2564). การเปิดรับสื่อ ความรู้ ทัศนคติและแนวโน้มพฤติกรรมต่อโครงการคนละครึ่งของประชาชน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Best, John. (1977). Research in Education. New Jersey: Prentice Hall, Inc.

Colette M., Taylor, Casey J., Cornelius, & Kate, Colvin. (2014). Visionary Leadership and Its Relationship to Organizational Effectiveness. Retrieved September 9, 2021, from https://www.emerald.com/insight/content/doi/10.1108/LODJ-10-2012-0130/full/html.

Gibson, J.H., John, M.I., & Jame, H.D. (1982). Organizations: Behavior Structure and Processes (4th ed). A Stin, TX: Business Publications.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed). New York: Harper and Row.