การกระชับอำนาจของสยามในพื้นที่อีสานหลังเหตุการณ์กบฏเจ้าอนุวงศ์ พ.ศ. 2369

Main Article Content

ประวิทย์ สายสงวนวงศ์

บทคัดย่อ

   บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความสำคัญของกบฏเจ้าอนุวงศ์ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเมืองของสยามในพื้นที่อีสาน และ 2. เพื่อศึกษาการดำเนินการขยายอำนาจของสยามในพื้นที่อีสานหลังเหตุการณ์กบฏเจ้าอนุวงศ์ พ.ศ. 2369 โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ (Historical Approach) และการวิจัยเอกสาร (Documentary Research)   ผลการวิจัยพบว่า เหตุการณ์กบฏเจ้าอนุวงศ์ทำให้สยามตระหนักถึงปัญหาความอ่อนแอของอำนาจ การปกครองเหนือพื้นที่อีสาน อันเนื่องมาจากโครงสร้างการเมืองที่เปราะบางและการขาดเสถียรภาพที่มั่นคง โดยเฉพาะปัญหาความเป็นอิสระของกลุ่มอำนาจท้องถิ่น ความขัดแย้งในด้านเหตุผลส่วนตัวและการแย่งชิงผลประโยชน์ นำมาซึ่งความอ่อนแอของระบบการบังคับบัญชากลุ่มอำนาจท้องถิ่นและการป้องกันตนเองเมื่อเกิดภาวะคับขัน ทำให้สยามปรับเปลี่ยนนโยบายการปกครองเพื่อกระชับอำนาจด้วยการแทรกแซงและควบคุมพื้นที่อีสานอย่างเข้มงวดมากขึ้น ทั้งในด้านการจัดการด้านพื้นที่ เช่น การปรับปรุงขอบเขตอำนาจของเมืองต่าง ๆ การจัดการควบคุมการตั้งเมืองโดยตรง การสร้างดุลอำนาจในพื้นที่อีสาน รวมถึงการจัดการด้านกลไกการปกครอง เช่น การส่งขุนนาง จากส่วนกลางเข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่ การตรวจสอบกำลังคน และการจัดการกับระบบส่วย การกระชับอำนาจดังกล่าวเป็นพื้นฐานที่จะปูทางไปสู่การผนวกพื้นที่อีสานเป็นส่วนหนึ่งของรัฐสมัยใหม่ในช่วงเวลาต่อมา   

Article Details

How to Cite
สายสงวนวงศ์ ป. . (2024). การกระชับอำนาจของสยามในพื้นที่อีสานหลังเหตุการณ์กบฏเจ้าอนุวงศ์ พ.ศ. 2369. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 15(3), 139–154. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/truhusocjo/article/view/274133
บท
Research Article

References

กรมศิลปากร. (2530). จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 เล่ม 3. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. (2545). ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 9. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

ขจีรัตน์ ไอราวัณวัฒน์. (2532). ความสำคัญทางการเมืองของเมืองนครราชสีมา: บทบาทของเจ้าเมืองตระกูล ณ ราชสีมา ระหว่าง พ.ศ. 2325 - 2388. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชลิต วิพัทนะพร. (2529). การอพยพย้ายถิ่นในดินแดนอีสาน ระหว่างปี พ.ศ. 2321 - 2453. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์. (2537, พฤศจิกายน – 2538, เมษายน). กบฏเจ้าอนุวงศ์ พ.ศ. 2369 (การกู้อิสรภาพของลาว). วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(2), 37 - 49.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2538). จดหมายเหตุพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพเสด็จไปตรวจราชการมณฑลนครราชสีมาและมณฑลอุดรอีสาน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และหม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล พระธิดา.

เติม วิภาคย์พจนกิจ. (2557). ประวัติศาสตร์อีสาน (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทิพากรวงศ์, เจ้าพระยา. (2506). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ฉบับหอสมุดแห่งชาติ เล่ม 2. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา.

ธงชัย วินิจจะกูล. (2556). กำเนิดสยามจากแผนที่: ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ. กรุงเทพฯ: อ่าน.

ธีรชัย บุญมาธรรม. (2526, ธันวาคม). การเก็บส่วยในหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกในช่วงต้นสมัยรัตนโกสินทร์. วารสารธรรมศาสตร์, 12(4), 155-167.

บังอร ปิยะพันธุ์. (2529). ประวัติศาสตร์ของชุมชนชาวลาวในหัวเมืองชั้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประทีป ชุมพล. (2525). พื้นเวียง: วรรณกรรมแห่งการกดขี่. กรุงเทพฯ: อดีต.

พรรษา สินสวัสดิ์. (2521). ความสัมพันธ์ระหว่างกรุงเทพฯ กับเมืองเวียงจันทน์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2367-2370. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มะยุรี เหง้าสีวัทน์, และเผยพัน เหง้าสีวัทน์. (2531, กันยายน). เจ้าอนุฯ: เรื่องเก่าปัญหาใหม่. ศิลปวัฒนธรรม, 9(11), 58 - 74.

วีระพงศ์ ยศบุญเรือง. (2546). การจัดเก็บภาษีในหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออก พ.ศ. 2367 - 2433. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

______. (2549, กรกฎาคม - ธันวาคม). การจัดเก็บภาษีในหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออก พ.ศ. 2367 - 2433. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2(2), 67 - 96.

สากลกิจปรมวญ, พระยา. (2473). ประชุมจดหมายเหตุเรื่องปราบกบฏเวียงจันท์. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.

สายพิน แก้วงามประเสริฐ. (2538). การเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี. กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรม.

สุเจน กรรพฤทธิ์. (2555). ตามรอยเจ้าอนุวงศ์: คลี่ปมประวัติศาสตร์ไทย-ลาว. กรุงเทพฯ: สารคดี.

สุวิทย์ ธีรศาศวัต. (2550). ปัญหาการเก็บส่วยในภาคอีสานก่อนสมัยปฏิรูปการปกครองในรัชกาลที่ 5. วารสารสมาคมประวัติศาสตร์, 29, 106 - 119.

______. (2567). ศึกเจ้าอนุวงศ์ สงครามปลดแอกชาติลาว. สืบค้น เมษายน 6, 2567, จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_115537.

อุราลักษณ์ สิถิรบุตร. (2526). มณฑลอีสานและความสำคัญในทางประวัติศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุศนา นาศรีเคน. (2548). อีสานในการรับรู้และทัศนะของผู้ปกครองกรุงเทพฯ ตั้งแต่หลังกบฏเจ้าอนุวงศ์ พ.ศ. 2369 ถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

______. (2549, กรกฎาคม - กันยายน). การรับรู้เกี่ยวกับ "พื้นที่" อีสานกับการขยายอำนาจของกรุงเทพฯ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 25(3), 83 - 101.

Etienne, A. (2539). บันทึกการเดินทางในลาว ภาคหนึ่ง พ. ศ. 2438. (แปลจาก Vogage Dans Le Laos, Tome Premier 1895 โดย ทองสมุทร โดเร, และสมหมาย เปรมจิตต์). เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Keyes, C., F. (2556). อีสานนิยม: ท้องถิ่นนิยมในสยามประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). (แปลจาก ISAN: Regionalism in Northeastern Thailand โดย รัตนา โตสกุล). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.