การศึกษาการตั้งใจกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้สูงอายุเพศหญิง กรณีศึกษาคลินิกเสริมความงามแห่งหนึ่งในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พิมพาภรณ์ เชาว์ปรีชา
สุพิชา บูรณะวิทยาภรณ์

บทคัดย่อ

   การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งใจกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้สูงอายุเพศหญิง กรณีศึกษาคลินิกเสริมความงามแห่งหนึ่งในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้คือ ผู้สูงอายุเพศหญิง อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่มาใช้บริการคลินิกเสริมความงามแห่งหนึ่งในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2566 จำนวน 225 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่และค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน One Way ANOVA และการวิเคราะห์สมการถอดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Linear Regression)  ผลการทดสอบสมมติฐาน คือ 1. ความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดบริการในการใช้บริการคลินิกเสริมความงามของผู้สูงอายุเพศหญิง แตกต่างกันตามปัจจัยการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และเขตที่อยู่อาศัย ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 2. ปัจจัยแรงจูงใจในการใช้บริการคลินิกเสริมความงามของผู้สูงอายุเพศหญิง  แตกต่างกันตามจำนวนครั้งของการเข้าใช้บริการ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 3. การตั้งใจกลับมาใช้บริการซ้ำคลินิกเสริมความงามของผู้สูงอายุเพศหญิง แตกต่างกันตามจำนวนครั้งที่เข้าใช้บริการและการตัดสินใจใช้บริการ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 4. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการมีอิทธิพลต่อการตั้งใจกลับมาใช้บริการซ้ำคลินิกเสริมความงามของผู้สูงอายุเพศหญิง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ 5. ปัจจัยแรงจูงใจมีอิทธิพลต่อการตั้งใจกลับมาใช้บริการซ้ำคลินิกเสริมความงามของผู้สูงอายุเพศหญิง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยผลการวิจัยเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาธุรกิจและการบริการสำหรับผู้สูงอายุต่อไป   

Article Details

How to Cite
เชาว์ปรีชา พ. ., & บูรณะวิทยาภรณ์ ส. . (2025). การศึกษาการตั้งใจกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้สูงอายุเพศหญิง กรณีศึกษาคลินิกเสริมความงามแห่งหนึ่งในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 15(3), 17–32. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/truhusocjo/article/view/274574 (Original work published 28 ธันวาคม 2024)
บท
Research Article

References

คุณาพร ทบคลัง. (2564). การตัดสินใจเลือกใช้บริการคลินิกเสริมความงามของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จรรยาพร บุบฝัน. (2565). ส่วนประสมทางการตลาดและแรงจูงใจที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสถาบันเสริมความงามของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จิตติยา สมบัติบูรณ์, และนุชนาถ ประกาศ. (2562, กรกฎาคม – ธันวาคม). ความสุขของผู้สูงอายุไทยในยุค Thailand 4.0. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 30(2), 219 - 228.

ฉลองศรี พิมลสมพงษ์. (2542). การวางแผนและพัฒนาการตลาดท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธนาคารกสิกรไทย. (2561). ตลาดผู้สูงอายุ ขุมทอง SME ไทย. สืบค้น กรกฎาคม 18, 2567, จาก https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/Aging-Market_SME-Treasure_2018.pdf.

ธนัชชา ศรีชุมพล, และบุญญารัตน์ สัมพันธ์วัฒนชัย. (2561, กรกฎาคม - ธันวาคม ). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำศัลยกรรมเสริมความงามของผู้ใช้บริการชาวไทยที่อยู่ในเจเนอเรชัน x และเจเนอเรชัน Y ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 28(2), 107 - 116.

ประคอง กรรณสูตร. (2538). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ในกรุงเทพ. (2567). คลินิกสุขภาพผู้สูงอายุนิวไลฟ์. สืบค้น กรกฎาคม 18, 2567, จาก https://www.bumrungrad.com/th/centers/geriatric-new-life-bangkok-thailand.

ฤติมา ฮึงรักษา. (2562). การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการของลูกค้าธุรกิจคลินิกเสริมความงาม. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. (2566). 10 ธุรกิจ ดาวรุ่ง ดาวร่วง ปี 2566. สืบค้น กรกฎาคม, 18, 2567, จาก https://tradestrategies.utcc.ac.th/wp-content/uploads/2022/12/10-%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B8%9B%E0%B8%B5-66final1.pdf.

เสรี วงษ์มณฑา. (2542). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

Brown, J. D. (2002, February). The Cronbach Alpha Reliability Estimate. JALT Testing & Evaluation SIG Newsletter, 6(1), 17 - 18.

Schiffman, L., & Kanuk, L. (2010). Consumer Behavior (10th ed.). Upper Saddle River, N.J.: Prentice Hall.

Slevec, J., & Tiggemann M. (2020, March). Attitudes Toward Cosmetic Surgery in Middle-aged Women: Body Image, Ageing Anxiety, and The Media. Psychology of Women Quarterly, 34(1), 65 - 74.

Smart Research Thai. (2019). Reliability Cronbach Alpha. Retrieved July 18, 2024, from https://www.smartresearchthai.com/post/reliability-cronbach-alpha.