การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีนกลางด้วยการสอนแบบเน้นชุดคำศัพท์ การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีนกลางด้วยการสอนแบบเน้นชุดคำศัพท์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีนกลางด้วยการสอนแบบเน้นชุดคำศัพท์ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีนกลางของผู้เรียน ด้วยการสอนแบบเน้นชุดคำศัพท์ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการสอนแบบเน้นชุดคำศัพท์ในรายวิชาภาษาจีนธุรกิจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จำนวน 27 คนได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เนื่องจากนักศึกษาได้ศึกษาในรายวิชาภาษาจีนธุรกิจ จึงสามารถนำรูปแบบการสอนแบบเน้นชุดคำศัพท์เข้ามาประกอบการเรียนการสอนได้ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลองโดยดำเนินการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนกับกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการเรียนในรายวิชาภาษาจีนธุรกิจ แบบทดสอบวัดผลทักษะการสื่อสารภาษาจีนก่อนเรียนและหลังเรียน แบบฝึกหัดชุดคำศัพท์ในบทเรียนประจำรายวิชาภาษาจีนธุรกิจและแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการสอนแบบเน้นชุดคำศัพท์ ระยะเวลาการวิจัย 1 ภาคการศึกษา จำนวน 15 สัปดาห์ โดยนำแนวคิดการสอนแบบเน้นชุดคำศัพท์มาออกแบบขั้นตอนการสอนเป็น 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นเตรียมความพร้อม ขั้นสังเกต ขั้นเรียนรู้ ขั้นนำเสนอ และขั้นสรุป ผลการวิจัย พบว่า ผลการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีนกลางของกลุ่มตัวอย่างมีผลการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการตอบแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการเรียนการสอนแบบเน้นชุดคำศัพท์ พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการสอนแบบเน้นชุดคำศัพท์อยู่ในระดับมาก (=4.45, S.D.=0.27) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือการนำความรู้ไปใช้ในการเรียนภาษาจีนกลาง แสดงให้เห็นว่าการสอนแบบเน้นชุดคำศัพท์สามารถช่วยให้ผู้เรียนมีคลังคำศัพท์ที่สามารถนำมาใช้ในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ศึกษาเนื้อหาในบทเรียนได้เข้าใจมากขึ้น ลดความกังวลด้านไวยากรณ์และช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความรู้สึกทางภาษาที่ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้การสื่อสารภาษาจีนกลางได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับบริบทของการสื่อสารตามธรรมเนียมของเจ้าของภาษาได้
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น
References
เพ็ญพิชชา อัษฎาวุธวงศกร นิธิดา อดิภัทรนันท์. (2561, ตุลาคม – ธันวาคม). การใช้การสอนภาษาที่เน้นคำศัพท์เพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(4), 144-156.
ภาณุ ธราวรรณ นิธิดา อดิภัทรนันท์. (2562, มกราคม – มิถุนายน). การใช้การสอนภาษาที่เน้นคำศัพท์ร่วมกับกระดานอัจฉริยะเพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษและความรู้คำศัพท์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 16(1), 199-204.
ราตรี นันทสุคนธ์. (2554). การวิจัยในชั้นเรียนและการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: จุดทอง.
อรุณี อรุณเรือง. (2551, กันยายน). แนวทางการเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศแบบใช้คำศัพท์เป็นหลัก The Lexical-Based EFL Learning Approach. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร, 2(2), 252-260.
Bi, X. (2019). 语块研究为对外汉语教学提供新思路 แนวทางใหม่ของการศึกษา ค้นคว้าการสอนแบบเน้นชุดคำศัพท์ที่มีต่อการสอนภาษาจีนสำหรับชาวต่างชาติ. สืบค้น ธันวาคม, 2561, จาก http://yyzk.shyywz.com/ltt/message!detailMessage.do?id=59d230e7-2ebc-4fb0-9cc9-49a4017570db.
Dentisak Dokchandra. (2561, มกราคม-มิถุนายน). การสำรวจการใช้วิธีการสอนภาษาแบบเน้นคำศัพท์ โดยผู้สอนภาษาอังกฤษระดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(1), 158.
Lewis, M. (1993). Implementing The Lexical Approach: The State of ELT and a Way Forward. Hove, England: Language Teaching Publications.
Li, Z. Jiang, L. (2013). How to teach foreigners Chinese. Beijing: Beijing Language and Culture University Press.
Lu, B. (1996). The Teaching of Chinese to foreigners. Chinese Teaching in the World. 2, 72-79.
[in Chinese]
Sun, L. (2018). A Review of the Research on the Teaching Blocks of Teaching Chinese as a Foreign Language. TCSOL Studies. 69(1), 49-55. [in Chinese]
Wang, H. Zhou, H. (2011). Excel in Chinese Better Chinese, Better Business. Beijing: Foreign Language Teaching and Research Press.
Yang, J. (2011). HANYU JIAOCHENG (2nd ed). Beijing: Beijing Language and Culture University Press.
Zhou, J. Chen, Q. (2011). Language sense training mode: The concept and practice of teaching Chinese as a foreign language. Beijing: Foreign language teaching and research publishing house. [in Chinese]