การศึกษาการใช้กลยุทธ์การเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี A Study of English Language Learning Strategies Used by the 1st Year Undergraduate Students at Thepsatri Rajabhat University
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้กลยุทธ์การเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และเพื่อเปรียบเทียบการใช้กลยุทธ์การเรียนภาษาอังกฤษระหว่างนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ และสาขาวิชานิเทศศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 63 คน เป็นนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 35 คน และนักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ จำนวน 28 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Independent Samples) ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชานิเทศศาสตร์และสาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี มีการใช้กลยุทธ์การเรียนภาษาอังกฤษทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณากลยุทธ์เป็นรายด้านเรียงลำดับจากมากไปน้อยพบว่า มีการใช้กลยุทธ์การนำไปสู่ความสำเร็จมากที่สุด รองลงมาคือ กลยุทธ์ความรู้ความเข้าใจ กลยุทธ์ทางสังคม กลยุทธ์การจำ กลยุทธ์แก้ไขข้อบกพร่อง และกลยุทธ์อารมณ์และความรู้สึก ตามลำดับ และความแตกต่างของการใช้กลยุทธ์การเรียนภาษาอังกฤษ ระหว่างสาขาวิชาภาษาอังกฤษ กับสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ในภาพรวมพบว่า นักศึกษาที่เรียนในสาขาวิชาภาษาอังกฤษและสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มีการใช้กลยุทธ์การเรียนภาษาอังกฤษไม่แตกต่างกัน
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น
参考
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
แพรวพรรณ พริ้งพร้อม. (2552). การศึกษาการใช้กลยุทธ์การเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัย กรุงเทพ ชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2. BU Academic Review, 8(2), 15-26.
เพ็ญวารี วิจิตรเวชไพศาล, ลัคนา ชัยศักดิ์เลิศ, และสุวิมล นภาผ่องกุล. (2559) ความแตกต่างของกลยุทธ์การเรียนรู้ระหว่างภาษาญี่ปุ่น และภาษาอังกฤษ. วารสารวิจัยราชมงคลกรุงเทพม 10(2), 93-106.
มานัส รอดซื่อ. (2559) สอนให้น้อยเรียนรู้ให้มาก (TLLM) โดยใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียนรู้ Project Based Learning (PBL). สืบค้น ตุลาคม 23, 2021 จาก http://apr.nsru.ac.th/Act_learnn/mylife/10062014104139_3.pd
นฤมล โครตสมบัติ (2546) การศึกษาการใช้กลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อใช้ในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาวชบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล
วิจารณ์ พานิช (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
ศิวนนท์ นิลพาณิชย์. (2560). กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(2), 1-12.
สมพร โกมารทัต. (2559). การศึกษาการใช้กลยุทธ์การเรียนภาษาต่างประเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในกรุงเทพฯและปริมณฑล. รายงานผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. (หน้า 1-97)กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
อรุณี อรุณเรือง, รพีพรรณ สุฐาปัญณกุล, และภาวิณี อุ่นวัฒนา. (2560) กลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษา ชั้นปีที่ 2 ระหว่างสาขาวิชาการท่องเที่ยวการโรงแรม ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล. การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9 (9 th RMUTNC) และการประชุมวิชาการนานาชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 8 (8 th RMUTIC). 8 สิงหาคม 2560, (หน้า 37-45) นนทบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
Brown, A. L., & Palincsar, A. S. (1982). Inducing strategies learning from texts by means of informed, self-control training. Topics in Learning and Learning Disabilities, 2(1), 1-17.
Iamla-ong, H. (2014). Language learning problems and language learning strategies of MFU students. MFU Connation: Journal of Humanities and Social Sciences, 3(1), 54-86.
Kunasaraphan, K. (2015). English learning strategy and proficiency level of the first year students. PROCEDIA SOCIAL AND BEHAVIORAL SCIENCES, 197, 1853-1858.
McGroatry, M., & Oxford, R. (1990). Language Learning Strategies: An introduction and Two related studies. In Padilla, A.M. et al. (Eds.). Foreign Language Education: Issues and Strategies, (56-74). CA: SAGE Publications.
Naiman, N., Frohlich, M., Stern, H.H, &Todesco, A. (1978) The good language learner: Research in Education Series 7. Toronto, Ontario: Institute for Studies in Education
O’ Malley, J.M. (1985). Learning Strategy Applications with Students of English as a Second language. TESOL Quarterly, 19(13), 557-584.
O’Malley, J.M. & Chamot, A.U. (1990). Learning strategies in second language acquisition. Cambridge: Cambridge University Press.
Oxford, R. L (1990). Language learning strategies: What every teacher should know. New York: Newbury House.
Oxford, R. L. & Nyikos, M. (1989). Variables affecting choice of language learning Strategies by university students. Modern Language Journal, 73(3), 291-300.
Phillips, V. (1991). A look at learner strategy use and ESL proficiency. CATESOL Journal, November, 57-67.
Politzer, R. L., & McGroarty, M. (1985). An exploratory study of learning behaviors and their relationship to gains in linguistic and communicative competence. Tesol Quarterly, 19(1), 103-123.
Price, G. (1978). Research on learning style with suggestion for teacher experimentation. Englewood cliffs. New Jersey: Prentice Hall.
Rubin, J. (1981). Study of Cognitive Processes in Second Language Learning. Applied Linguistics, 11, 117-123.
Santikarn. B. (2014) The Use of Language Learning Strategies: A Case Study of Undergraduate Students in a Private University. Journal of Language and Communication, 19 (21), 55-72.