ผลกระทบของทักษะทางวิชาชีพนักบัญชีและระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพการจัดทำรายงานการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

วิลาวรรณ บุญเกิด
เบญจพร โมกขะเวส

摘要

  การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ผลกระทบของทักษะทางวิชาชีพนักบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพการจัดทำรายงานการเงิน 2. ผลกระทบของระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพการจัดทำรายงานการเงิน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 53 ข้อ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จำนวน 273 คน ได้มาจากการคำนวณของ Taro Yamane  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย  ผลการศึกษาพบว่า 1. ทักษะทางวิชาชีพนักบัญชีโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน          โดยเรียงลำดับของค่าเฉลี่ย พบว่า มากที่สุดคือ ทักษะทางคุณลักษณะเฉพาะบุคคล รองลงมาคือทักษะทางปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและการสื่อสาร ทักษะทางการบริหารองค์กรและการจัดการธุรกิจ ทักษะทางวิชาการเชิงปฏิบัติ และหน้าที่งาน และทักษะทางปัญญาตามลำดับ 2. ระบบสารสนเทศทางการบัญชีโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงลำดับของค่าเฉลี่ย พบว่า มากที่สุดคือการจัดการข้อมูล รองลงมาคือการจัดทำสารสนเทศ การประมวลข้อมูล การควบคุมข้อมูล การรวบรวมข้อมูล และการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลตามลำดับ และ 3. ประสิทธิภาพการจัดทำรายงานการเงินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน โดยเรียงลำดับของค่าเฉลี่ย พบว่า มากที่สุดคือด้านความเชื่อถือได้ รองลงมาคือด้านความทันเวลา ด้านความครบถ้วน ด้านความเข้าใจได้ และด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจตามลำดับ และผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ทักษะ ทางวิชาชีพนักบัญชีและระบบสารสนเทศทางการบัญชีส่งผลกระทบเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการจัดทำรายงานการเงิน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และ 0.05

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

##submission.howToCite##
บุญเกิด ว., & โมกขะเวส เ. . (2023). ผลกระทบของทักษะทางวิชาชีพนักบัญชีและระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพการจัดทำรายงานการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. Faculty of Humanities and Social Sciences Thepsatri Rajabhat University Journal, 14(3), 1–20. 取读于 从 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/truhusocjo/article/view/267871
栏目
Research Article

参考

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2563). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. สืบค้น กันยายน 15, 2565, จาก http://www.dla.go.th/work/abt/index.jsp.

จิรวุฒิ แดงสะอาด. (2561). ผลกระทบของสมรรถนะของนักบัญชีที่มีต่อคุณภาพของรายงานการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสิงห์บุรี. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ณฐภัทร หงษ์พงษ์. (2560). ผลกระทบของทักษะทางวิชาชีพที่มีต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของผู้ทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและนนทบุรี. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

เทียนใจ สุทะ. (2561). การประเมินผลการใช้งานระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (e-LAAS) ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ธมลวรรณ เจนธนสาร. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานระบบบริหารการเงิน การคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ของกรมปศุสัตว์. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ปรีย์ธนิสร์ ประจักรจิตร์. (2563). ปัจจัยเชิงสาเหตุของระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

เพ็ญพิชชา ผลไพบูลย์. (2561). ประสิทธิผลของระบบสารสนเทศทางบัญชีภายใต้ระบบ GFMIS ที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานทางบัญชี. การศึกษาค้นคว้าปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

โศรยา บุตรอินทร์, วราพร เปรมพาณิชย์นุกูล, และขจิต ก้อนทอง. (2557, กรกฎาคม - สิงหาคม). ผลกระทบของการเรียนรู้มาตรฐานการบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานทางการบัญชีของผู้ทำบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 33(4), 118 - 129.

สกุณา มาอู๋. (2562). ทักษะของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2557). มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ ฉบับที่ 3 เรื่อง ทักษะทางวิชาชีพ. สืบค้น กันยายน 15, 2565, จาก https://acpro-std.tfac.or.th/uploads/files/2005_IES3.pdf.

อภิญญา คงวิริยะกุล, ไพลิน นิลนิยม, และศุทธินี ปราชญ์ศรีภูมิ. (2561, ตุลาคม - ธันวาคม). ผลกระทบของประสิทธิภาพการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มีต่อการปฏิบัติงานที่ดีทางการบัญชีของธุรกิจเคมีภัณฑ์ในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(4), 1 - 10.

Best, J. W. (1977). Research in Education (3rd ed). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall, Inc.

Davis, F. D., Bagozzi, R. P., & Warshaw, P. R. (1989, August). User Acceptance of Computer Technology: A Comparison of Two Theoretical Models. Management Science, 35(8), 982 – 1003.

Delone, W. H., & McLean, E. R. (2003, December). The DeLone and McLean Model of Information Systems Success: A Ten-Year Update. Journal of Management Information Systems, 19(4), 9 - 30.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (2nd ed). New York: Harper and Row.