ผลของการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษร่วมกับเทคนิค KWL-Plus เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษร่วมกับเทคนิค KWL-Plus ตามเกณฑ์ 80/80 2. เปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3. ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษร่วมกับเทคนิค KWL-Plus กลุ่มทดลอง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบาลีเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่เรียนรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน (อ 31101) ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษร่วมกับเทคนิค KWL-Plus แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ และแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษร่วมกับเทคนิค KWL-Plus การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษร่วมกับเทคนิค KWL-Plus ประกอบด้วย 6 บทเรียน และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.53/84.17 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2. ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีผลต่าง +12.21 และ 3. นักเรียนมีความคิดเห็นต่อแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษร่วมกับเทคนิค KWL-Plus อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
ถิรวัฒน์ ตันทนิส. (2550). ปัญหาการออกเสียงภาษาอังกฤษของนักศึกษาสหวิทยาการชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธชวรรณ กวยระคาร, และธรรศนันต์ อุนนะนันทน์. (2564, พฤษภาคม). การพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ โดยใช้ชุดกิจกรรมแบบกลวิธีการเสริมต่อการเรียนรู้สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม. Journal of Modern Learning Development, 7(4), 234 - 248.
ประไพร ปลายเนตร. (2543). การพัฒนาการรู้จักเข้าใจสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหลังเขา จังหวัดสระบุรี. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปรียารัตน์ ศรีชัยวงค์. (2564, กันยายน - ตุลาคม). วัฒนธรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจในยุคศตวรรษที่ 21: มองผ่านหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(6), 2678 - 2689.
ปวีณา เมืองมูล, นพรัตน์ สรวยสุวรรณ, และเทพนคร ทาคง. (2561, มกราคม - เมษายน). การศึกษาพฤติกรรมการสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(1), 48 - 67.
พนิดา สมัยคมสัน. (2554). ผลการใช้เทคนิค KW-Plus ต่อการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดราชโอรส. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พระอุดมธีรคุณ, และบัณฑิตา จารุมา. (2563). ภาษาและวัฒนธรรม: ความหมาย ความสำคัญ และความสัมพันธ์ระหว่างกัน. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 7(2), 53 - 63.
ผ่องพรรณ เอกอาวุธ. (2563). ฝึกอาชีพนักเรียนสามเณรต่อยอดเรียนรู้สายอาชีพชั้นสูง. สืบค้น กุมภาพันธ์ 27, 2566, จาก https://www.eef.or.th/interview-01-09-20/.
วาสนา เหล่าดวงดี. (2562). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้กิจกรรม เค ดับเบิ้ลยู แอล พลัส (KWL-Plus) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนโกสุมวิทยาสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. สืบค้น พฤศจิกายน 15, 2565, จาก http://www.thaischool1.in.th/_files_school/44100437/workteacher/44100437_1_20200823-104523.pdf.
สรณบดินทร์ ประสารทรัพย์. (2561, มกราคม - มิถุนายน). ผลของการใช้วิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ดอกช์ (MIA) ที่มีต่อการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(1), 175 - 186.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2554). แนวทางการพัฒนาและประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุกัญญา กำเนิดจอก. (2563). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ CIRC สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสุรนารีวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 ปีการศึกษา 2562. สืบค้น พฤศจิกายน 15, 2565, จาก https://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=178683&bcat_id=16.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2552). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
Best, J. W., & Kahn, J. (1986). Research in Education (5th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Dreman, F., Hasnaa. (2010). Using K.W.L. Plus Strategy for Developing Some Reading Comprehension Skills Among EFL Freshmen. Benha: Benha University.
Helwa, M.S., A. A. (2010, January). Using K.W.L. Plus Strategy for Developing Some Reading Comprehension Skills Among EFL Freshmen. Journal of Faculty of Education, Benha University, 22(82), 1 - 38.
Hussein, M. (2014, November). KWL-Plus Effectiveness on Improving Reading Comprehension of Tenth Graders of Jordanian Male Students. Theory and Practice in Language Studies, 4(11), 2278 - 2288.
Kuder, G., F., & Richardson, M. W. (1937, September). The Theory of the Estimation of Test Reliability. Psychometrika, 2, 151 - 160.
Nixon, U. (1995). Developing Appropriate Materials: The Vietnam Project. English Teaching Forum, 33(3), 12 – 15.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. Fishbeic, Martin, Ed. Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.