การศึกษาจิตสำนึกทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และ 2
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างจิตสำนึกทางสังคมกับตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 2. ศึกษาจิตสำนึกทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คน และนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และเขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 473 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความสอดคล้องระหว่างจิตสำนึกทางสังคมกับตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 43 ข้อ และแบบสอบถามจิตสำนึกทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 71 ข้อ สถิติที่ใช้คือ ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. จิตสำนึกทางสังคมมีความสอดคล้องกับตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2. นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายมีจิตสำนึกทางสังคมอยู่ในระดับมาก
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น
参考
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย จำกัด.
ทิพย์พาพร ตันติสุนทร. (2556). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา.
ธัญญาลักษณ์ ใจเที่ยง. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนเขตพระนคร กรุงเทพมหานครต่อการพัฒนาทักษะเยาวชนไทย 4.0. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การพัฒนาการทำวิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
รัฐศิรินทร์ วังกานนท์. (2554). รายงานการศึกษาแนวทางการสร้างเสริมสำนึกความเป็นพลเมืองแก่เยาวชน. กรุงเทพฯ: สำนักแผนพัฒนาการเมือง สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า.
ศิริชัย กาญจนวาสี, ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์, และดิเรก ศรีสุโข. (2551). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2549). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 - 2554). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สมชาย รัตนทองคํา. (2550). เอกสารประกอบการสอน 475 759 การสอนทางกายภาพบําบัด. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา. สืบค้น มกราคม 21, 2566, จาก https://portal.bopp-obec.info/obec65/publicstat/report?AreaCode=00100001.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2561 - 2580. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนกับหลักประชาธิปไตยในสังคม. กรุงเทพฯ: สถาบันรัฐธรรมนูญศึกษา สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. สืบค้น มิถุนายน 8, 2565, จาก https://www.constitutionalcourt.or.th/=1476.
อ้อมฤดี วีระกะลัส, และธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน. (2555). ต้นทุนชีวิต ทักษะทางสังคม การมองโลกในแง่ดีและความเข้มแข็งในการมองโลกของเยาวชนชายที่ถูกคุมประพฤติของสำนักงานคุมประพฤติในสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 38(2), 179 - 195.
Jacob, K. (2023). What Does It Mean To Have A Social Conscience Vs. Being Socially Conscious. Retrieved January 21, 2023, from https://theconsciousvibe.com/what-does-it-mean-to-have-a-social-conscience-vs-being-socially-conscious/.
Lemeshow, S., Howmer, D.W., Klar, J., & Lwanga, S.K. (1990). Adequacy of Sample Size in Health Studies. West Sussex: John Wiley & Sons Ltd.
Schlitz, M., Vieten, C., & Miller, M. (2010, Autumn). Worldview Transformation and the Development of Social Consciousness. Journal of Consciousness Studies, 17(7 - 8), 18 – 36. Retrieved May 22, 2022, from http://www. marjadevries.nl/artikelen/WorldviewTransformation.pdf.
Vieten, C., Amorok, T., & Schlitz, M. (2006, December). I To We: The Role of Consciousness Transformation in Compassion and Altruism. Journal of Religion and Science, 41(4), 917 – 931.