การพัฒนาแอนิเมชันระบบสองภาษา (ภาษาไทย - ภาษาอังกฤษ) เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ประพนธ์ เด่นดวง
พิมพ์ระวี เรืองวัฒกี
วันฉัตร พูขุนทด

摘要

   งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาแอนิเมชันส่งเสริมสมรรถภาพการออกกำลังกายของผู้สูงอายุระบบสองภาษา (ภาษาไทย - ภาษาอังกฤษ) และ 2. ศึกษาความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อแอนิเมชันระบบสองภาษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ผู้สูงอายุจำนวน 94 คน ตำบลไม้ดัด อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงจากผู้สูงอายุที่สมัครใจเข้าร่วมการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แอนิเมชันระบบสองภาษา (ภาษาไทย - ภาษาอังกฤษ) จำนวน 24 ฉาก และแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 17 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยพบว่า แอนิเมชันที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยฉากตัวละครผู้สูงอายุชายและหญิง 2 ตัว ทำท่าออกกำลังกาย จำนวน 12 ท่า ไปตามจังหวะดนตรี มีคำบรรยายท่วงท่าออกกำลังกายภาษาไทย – ภาษาอังกฤษ ใต้ภาพ และผู้สูงอายุมีความพึงพอใจต่อแอนิเมชันระบบสองภาษาโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ( gif.latex?x = 4.29, S.D. = 0.66)

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

##submission.howToCite##
เด่นดวง ป. ., เรืองวัฒกี พ., & พูขุนทด ว. . (2024). การพัฒนาแอนิเมชันระบบสองภาษา (ภาษาไทย - ภาษาอังกฤษ) เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ. Faculty of Humanities and Social Sciences Thepsatri Rajabhat University Journal, 15(2), 163–180. 取读于 从 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/truhusocjo/article/view/273322
栏目
Research Article

参考

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2562). มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่องสังคมผู้สูงอายุ 6 Sustainable 4 Change (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

คธาวุธ ศรียา, ภัทรพงษ์ ยิ่งดำนุ่น, และคมกริช บุญเขียว. (2565, กันยายน - ธันวาคม) การพัฒนากิจกรรมการออกกำลังกายแบบประยุกต์ ตามภูมิปัญญาพื้นบ้านเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุในตำบลหัวไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี. Lawarath Social E–Journal, 4(3), 203 - 222.

ธนพร ลาภบุญทรัพย์. (2560). ผลของสื่อโมชันกราฟิกด้านการออกกำลังกายที่มีต่อการทรงตัวในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนวัฒน์ บุญทัน. (2562, 4 กุมภาพันธ์). พื้นฐานการสร้าง Animation 2D ตอนที่ 1 บทนำ. สืบค้น มกราคม 5, 2567, จาก https://www.slideshare.net/thanawatboontan/animation-2d-1.

ธัญวัฒน์ บุญศรีนุ้ย. (2560). ระบบบริหารจัดการยา กรณีศึกษาบ้านพักคนชรา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย (เล่ม 1) (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปวีณา บังเกิด. (2563). การพัฒนาแอปพลิเคชันการออกกำลังกายด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ญาณิศา ตะนุสะ. (2563). การพัฒนาวิชวลไลเซชันเพื่อแนะนำท่าโยคะบรรเทาอาการปวดสำหรับผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

รัชชานันท์ ศรีสุภักดิ์, และประภากร ศรีสว่างวงศ์. (2564, มีนาคม - เมษายน). โมบายแอพพลิเคชันแนะนำการออกกำลังกาย สำหรับผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(2), 230 - 239.

วันเฉลิม พรหมศร, บุญชู บุญลิขิตศิริ, ปรัชญา แก้วแก่น, และก้องเกียรติ หิรัญเกิด. (2564, กรกฎาคม - ธันวาคม). การพัฒนาแอปพลิเคชันเกมออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทยใช้ป้องกันภาวะสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์. วารสารศิิลปกรรมบููรพา, 24(2), 155 - 171.

วาทิศ ตันติเหมันต์. (2560). การพัฒนาโมบาย แอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมพัฒนาการสมอง สำหรับโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สรรค์ชัย ไชยสกุลวงศ์, ณรงค์ ชัยช้าง, และอัญญาณี ชัยช้าง. (2566, กันยายน - ธันวาคม). การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารบัณฑิตศึกษาชัยภูมิปริทรรศน์, 1(3), 23 - 32.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.

Melo, A. J., Hernandez-Maestro, R. M., & Munoz-Gallego, P. A. (2017, February). Service Quality Perception, Online Visibility, and Business Performance in Rural Lodging Establishments. Journal of Travel Research, 56(2), 250 - 262.