การใช้สื่อภาพการ์ตูนภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจภาษาอังกฤษและการตระหนักถึงความสำคัญของท้องถิ่น: กรณีศึกษาตำนานท้องถิ่นจังหวัดลพบุรี
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. สร้างสื่อภาพการ์ตูนภาษาอังกฤษตำนานเมืองลพบุรี 2. เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจภาษาอังกฤษก่อนและหลังการใช้สื่อภาพการ์ตูนภาษาอังกฤษตำนานเมืองลพบุรี และ 3. ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้สื่อภาพการ์ตูนภาษาอังกฤษตำนานเมืองลพบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาเอกภาษาอังกฤษมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาท้องถิ่นศึกษา ภาคภาษาอังกฤษในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สื่อภาพการ์ตูนภาษาอังกฤษตำนานเมืองลพบุรีจำนวน 4 เรื่อง แบบทดสอบความรู้ความจำ จำนวน 40 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า 1. สร้างสื่อภาพการ์ตูนภาษาอังกฤษได้จำนวน 4 เรื่อง มีคุณภาพของการสร้างสื่อภาพการ์ตูนภาษาอังกฤษตำนานเมืองลพบุรีอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยที่ 4.73 2. ผลการเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจภาษาอังกฤษก่อนและหลังการใช้สื่อภาพการ์ตูนภาษาอังกฤษตำนานเมืองลพบุรีมีระดับคะแนนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ 3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้สื่อที่มีต่อสื่อภาพการ์ตูนภาษาอังกฤษตำนาน เมืองลพบุรีอยู่ในระดับมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ยที่ 4.56
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น
参考
จุติรัช อนุกูล. (2565). ตำนานเมืองลพบุรีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. ลพบุรี: สำนักศิลปะวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ถวัลย์ มาศจรัส. (2551). การพัฒนาคุณภาพผลงานทางวิชาการด้วยนวัตกรรม 3 มิติ. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี.
นงนุช สลับศรี. (2562). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบการ์ตูนเรื่องคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดดอนดำรงธรรม จังหวัดชลบุรี.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
นฤชล สถิรวัฒน์กุล. (2560). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาจีนโดยใช้แผ่นภาพการ์ตูนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดบึงบัวกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2557). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปรียาภา วังมณี, และวรพล ธูปมงคล. (2563, มกราคม - มิถุนายน). การใช้นวัตกรรมสื่ออินโฟกราฟิกภาษาอังกฤษตำนานท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างทักษะความเข้าใจภาษาอังกฤษและการตระหนักถึงความสำคัญของตำนานท้องถิ่นของเยาวชนในจังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 4(1), 25 - 44.
ผาสุข อินทราวุธ. (ม.ป.ป). ตำนานเมืองลพบุรี (ละโว้). สืบค้น ตุลาคม 11, 2566, จาก http://www.damrong-journal.su.ac.th/upload/pdf/79_1.pdf.
เรณู หาญนิรันดร์. (2546). การพัฒนาหนังสือการ์ตูนภาษาอังกฤษ เรื่องสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดระยองสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.
ศิวาวุฒิ มงคลวิสุทธิ์, และนิธิดา อดิภัทรนันท์. (2560, กันยายน - ธันวาคม). การใช้การ์ตูนแอนิเมชันเพื่อพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษและเจตคติของนักเรียนชาติพันธุ์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 11(3), 255 - 262.
สุวรรณา ใคร่กระโทก, และธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์. (2554, มกราคม - มีนาคม). การใช้การ์ตูนเพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(1), 142 - 147.