“การวิเคราะห์ใหม่และการเทียบแบบ”: กลไกทางวากยสัมพันธ์บางประการที่ผลักดันกระบวนการกลายเป็นรูปไวยากรณ์ในภาษาไทย
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
บทความนี้กล่าวถึงกลไกทางวากยสัมพันธ์ที่นำไปสู่กระบวนการกลายเป็นรูปไวยากรณ์ซึ่งมีสองกลไกที่สำคัญ ได้แก่ การวิเคราะห์ใหม่และการเทียบแบบการวิเคราะห์ใหม่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดโครงสร้างใหม่แทนที่โครงสร้างเก่า เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของภาษาที่เกิดจากการวิเคราะห์ใหม่เป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับลึกที่เรามองไม่เห็น หรือเรียกว่าการเปลี่ยนแปลงแบบ “ซุ่มเงียบ” ส่วนการเทียบแบบเป็นการเปลี่ยนแปลงของรูปภาษาหนึ่งที่ยึดรูปภาษารูปอื่นเป็นแบบอย่าง ทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับผิวของภาษาที่เห็นได้ชัดเจน จึงเรียกว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบ “ปรากฏชัด” ทั้งนี้ การกลายเป็นรูปไวยากรณ์จะต้องมีการวิเคราะห์ใหม่ของคำเนื้อหา ได้แก่ คำนามและคำกริยา และมีการวิเคราะห์ใหม่ของหน่วยสร้างผลของการวิเคราะห์ใหม่ คือ คำเนื้อหากลายเป็นคำไวยากรณ์ และคำไวยากรณ์จะต้องสามารถเกิดร่วมกับคำประเภทต่าง ๆ ได้มากกว่าตอนที่ทำหน้าที่เป็นคำเนื้อหา ดังนั้น กลไกที่ทำให้คำไวยากรณ์สามารถเกิดร่วมกับคำอื่นได้ก็คือ การเทียบแบบ
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น
参考
กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา. (2559). กระบวนการกลายเป็นรูปไวยากรณ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จรัสดาว อินทรทัศน์. (2539). กระบวนการที่คำกริยากลายเป็นคำบุพบทในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญา ดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2551). พระบรมราชาธิบาย เรื่อง สามัคคี พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักราชเลขาธิการ.
บุนนาค พยัคฆเดช. (2505). พระบรมราชาธิบายของรัชกาลที่ 5. พระนคร: สำนักพิมพ์คลังวิทยา.
ปูมราชธรรม. (2545). เอกสารสมัยอยุธยาจากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.
พิรุฬห์ ปิยมหพงศ์. (2561, กรกฎาคม - ธันวาคม). Grammaticalization กระบวนการกลายเป็นรูปไวยากรณ์. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 25(2), 433 - 453.
ภคภต เทียมกัน. (2561). พัฒนาการของคำว่า “บน” ในภาษาไทย: การศึกษาตามแนวอรรถศาสตร์ปริชาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2504). ประมวลบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาคปกิณกะ. พระนคร: กรุงเทพการพิมพ์.
ศรีอังคาร ถาวโรฤทธิ์. (2566). กระบวนการกลายเป็นคำสันธานของคำกริยาในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สมหมาย ฮุนตระกูล. (2537). หนังสือจดหมายเหตุ: Bangkok Recorder. กรุงเทพฯ: สำนักราชเลขาธิการ.
Harris, A., & Campbell, L. (1995). Historical Syntax in Cross-linguistic Perspective. Cambridge: Cambridge University Press.
Heine, B., & Reh, M. (1984). Grammaticalization and Reanalysis in African Language. Hamburg: Helmut Buske.
Heine, B., Claudi, U., & Hünnemeyer, F. (1991). Grammaticalization: A Conceptual Framework. Chicago & London: The University of Chicago Press.
Hopper, P., J., & Traugott, E. C. (2003). Grammaticalization (2nd ed.). Cambridge: Cambridge University Press.
Jagacinski, N. (1991). Wâa and Complement-taking Predicates in Thai. In M. Ratliff and E. Schiller (Ed.), Papers from The Frist Annual Meeting of the Southeast Asian Linguistic Society (pp. 205 - 223). Tempe: Arizona State University, Program for Southeast Asian Studies.
Kurylowicz, J. (1965). The Inflectional Categories of Indo-European. Heidelberg: Winer.
Langacker, R. W. (1977). Syntactic reanalysis. In C. N. Li (Ed.), Mechanisms of Syntactic Change (pp. 57 - 139). Austin: University of Texas Press.
Prasithrathsint, A. (2010, December). Gramamticallization of Nouns into Prepositions in Thai. Journal of Language and Linguistics, 28(2), 68 - 83.