คติความเชื่อในการปลูกเรือนชาวปกาเกอะญอ กรณีศึกษา: บ้านแม่กองคา อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

Chaipat Ngambutsabongsophin

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งหมายจะศึกษาคติความเชื่อในการปลูกเรือนของชาวปกาเกอะญอแห่งบ้านแม่กองคา อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ผู้อาวุโสและผู้รู้ที่มีความรู้ด้านการปลูกเรือนในหมู่บ้าน และการศึกษาเอกสารทางสังคม วัฒนธรรมของท้องถิ่น การศึกษาพบถึงคติความเชื่อต่าง ๆ ที่ชาวบ้านเคารพและยึดถือไว้ในการปลูกเรือนอันเกิดจากการสั่งสมภูมิปัญญารุ่นต่อรุ่น ให้สามารถใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติในพื้นที่อย่างกลมกลืน คติความเชื่อมีความละเอียดอ่อนตั้งแต่เริ่มต้นความคิดที่จะสร้างเรือนไปจนถึงการสร้างเรือนเสร็จ ได้แก่ ความเชื่อในการปลูกเรือนใหม่ การเลือกพื้นที่ปลูกเรือน การเลือกและเตรียมวัสดุ การวางเสา การก่อสร้างเรือน การเข้าถึงเรือน และการตั้งเตาไฟ โดยสิ่งเหล่านี้ล้วนเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ต่อผู้คน ความเคารพต่อธรรมชาติและการจัดการทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์รอบตัว สรุปได้ว่า คติความเชื่อในการปลูกเรือนของชาวปกาเกอะญอบ้านแม่กองคาเกิดจากความเข้าใจระหว่างคนกับพื้นที่บริบทและธรรมชาติที่ตัวเองอยู่อย่างลึกซึ้ง และความสัมพันธ์ที่ดีของชาวบ้านในหมู่บ้านและการยึดมั่นต่อสิ่งที่สืบทอดกันมาเป็นปัจจัยทำให้บ้านแม่กองคายังคงรักษาคติความเชื่อการปลูกเรือนเอาไว้ได้

Article Details

บท
Articles

References

ถาวร กัมพลภู. ไร่หมุนเวียนในวงจรชีวิตชนเผ่าปกาเกอะ-ญอ. เชียงใหม่: เครือข่ายกองบุญข้าว, 2547.

Northern Thailand Foundation. “บ้านแม่กองคา.” สืบค้น 14 พฤษภาคม 2561. http://www.landjustice 4thai.org/prototype.php?province=6& community=10.

นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์รุ่นที่ 1 สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันอาศรมศิลป์. ๑ในใจ. กรุงเทพ: สถาบันอาศรมศิลป์, 2558.

“บ้านแม่กองคา โรงเรียนบ้านแม่กองคา.” สืบค้น 12 กันยายน 2561. https://www.google.co.th/maps.

พรสุข เกิดสว่าง. ตัวตนคนปกาเกอะญอ. เชียงใหม่: ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2555.

ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี. รูปแบบบ้านเรือนของกลุ่มชาติพันธุ์ในอุษาคเนย์. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2556.

อัครพงศ์ อนุพันธุ์พงศ์. “บ้านเรือนชาวเขากะเหรี่ยงปกาเกอะญอ: ความยั่งยืนและการปรับตัวภายใต้นิเวศวัฒนธรรมไร่หมุนเวียน.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ภาควิชาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2550.

ไพโรจน์ พรจงมั่น. สัมภาษณ์. 4-5 มกราคม 2561.

วาควา ปองผาติพร. สัมภาษณ์. 6 มกราคม 2561.

ส่วยเก สัมพานธ์วนา. สัมภาษณ์. 4 มกราคม 2561.

ส่าเก ปัญญากุศล. สัมภาษณ์. 4 มกราคม 2561.