ความพึงพอใจของบุคลากรทางการศึกษาต่อการบริหารการศึกษาของโรงเรียนในเขตอำเภอวาปีปทุม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

สุพิชญา ประมาคะมา
ดร.จำนง กมลศิลป์
ดร.อุทัย กมลศิลป์

บทคัดย่อ

                   สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของบุคลากรทางการศึกษาต่อการบริหารการศึกษาของโรงเรียนในเขตอำเภอวาปีปทุม  สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของบุคลากรทางการศึกษาต่อการบริหารการศึกษาของโรงเรียนในเขตอำเภอวาปีปทุม  สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านบริหารงานวิชาการ  ด้านบริหารงานงบประมาณ ด้านบริหารงานบุคคลและด้านบริหารงานทั่วไป จำแนกตามตัวแปรเพศ วิทยฐานะ ประสบการณ์ทำงาน ขนาดสถานศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของบุคลากรทางการศึกษาต่อการบริหารการศึกษาของโรงเรียนในเขตอำเภอวาปีปทุม  สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ครูโรงเรียนในเขตอำเภอวาปีปทุม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 95 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.265 - 0.897 และค่าเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.973 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t–test และสถิติ F–test  


                   ผลการศึกษา พบว่า


                   1. ความพึงพอใจของบุคลากรทางการศึกษาต่อการบริหารการศึกษาของโรงเรียนในเขตอำเภอวาปีปทุม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการบริหารงานบุคคล รองลงมา คือ ด้านการบริหารงานทั่วไป และด้านการบริหารงานวิชาการ ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการบริหารงบประมาณ


                    2. ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของบุคลากรทางการศึกษาต่อการบริหารการศึกษาของโรงเรียนในเขตอำเภอวาปีปทุม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม


                        2.1 บุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนในเขตอำเภอวาปีปทุม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ที่มีเพศต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการบริหารการศึกษา โดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน


                        2.2 บุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนในเขตอำเภอวาปีปทุม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ที่มีวิทยฐานะต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการบริหารการศึกษา โดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน


                        2.3 บุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนในเขตอำเภอวาปีปทุม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ที่มีประสบการณ์ต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการบริหารการศึกษา โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านการบริหารงานทั่วไปที่บุคลากรทางการศึกษาที่มีประสบการณ์ในงาน 10 - 20 ปี มีความพึงพอใจมากกว่าครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานน้อยกว่า 10 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


                       2.4 บุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนในเขตอำเภอวาปีปทุม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ที่อยู่สถานศึกษาที่มีขนาดต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการบริหารการศึกษาโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านการบริหารงานทั่วไปแตกต่างกันที่บุคลากรทางการศึกษาที่อยู่สถานศึกษาที่มีขนาดเล็ก มีความพึงพอใจมากกว่าครูที่ที่อยู่สถานศึกษาที่มีขนาดกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


                   3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความพึงพอใจของบุคลากรทางการศึกษาต่อการบริหารการศึกษาของโรงเรียนในเขตอำเภอวาปีปทุม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม สรุปได้ดังนี้ หน่วยงานต้นสังกัดและผู้บริหารสถานศึกษาควรให้การสนับสนุน ส่งเสริมการดำเนินงานต่าง ๆ โดยมีการจัดประชุมวางแผนเพื่อให้การดำเนินงานมีความต่อเนื่อง ร่วมกันแก้ไขปัญหา ที่อาจเกิดขึ้น               เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในทุก ๆ ด้าน ควรมีการจัดประชุมวางแผนร่วมกันระหว่างผู้บริหารและครู เพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในแต่ละด้านให้ชัดเจน เป็นการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา เพื่อให้การดดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

Article Details

How to Cite
ประมาคะมา ส., กมลศิลป์ ด., & กมลศิลป์ ด. (2017). ความพึงพอใจของบุคลากรทางการศึกษาต่อการบริหารการศึกษาของโรงเรียนในเขตอำเภอวาปีปทุม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 7(1), 119–131. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJMBU/article/view/197212
บท
บทความวิจัย

References

กมลรัตน์ ภูดอกไม้. (2556). การเปรียบเทียบความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.. มหาหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กรรณิการ์ ดาวธง. (2553). ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

กระทรวงมหาดไทย. (2555). แผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นระยะสามปี (พ.ศ. 2555-2557).กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น.

เกษม วัฒนชัย. (2545). การปฏิรูปการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : 21 เซ็นจูรี่.

เงาแข เดือดขุนทด. (2551). ความพึงพอใจของครูเกี่ยวกับการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษในภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์ ค.ม.. กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

นงนุช กิตติโรจน์เจริญ. (2552). ความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อการบริหารงานของผู้บริหาร โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. 2531. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : สามเจริญพานิช.

ประเสริฐ ฟักสอาด. (2554). ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม. (2557). รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557. มหาสารคาม : องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม.

Cohen, J.M. and N. T. Uphoff. (1980). Rural Development Participation Concepts and Measures for Project Design, Implementation and Evaluation. New York : Cornell University.