การบริหารงานบุคลากรในโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 25 อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่

Main Article Content

นภาภรณ์ วงค์อ๊อด
วินิจ คนขยัน
ประดิษฐ์ ศรีอ้วน

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานบุคลากรในโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 25 อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ 2)เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นการบริหารงานบุคลากรจำแนกตาม เพศ วุฒิทางการศึกษา และตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 14 คน และครูผู้สอน จำนวน 36 คน รวมทั้งหมด 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที


          ผลการวิจัยพบว่า 1)ผู้บริหารสถานศึกษาเห็นว่าการบริหารงานบุคลากรในโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 25 อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและความคิดเห็นครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2)ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีต่อการบริหารงานบุคลากรในโรงเรียน จำแนกตามเพศ จำแนกตามวุฒิการศึกษา และจำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคลากรในโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 25 อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
วงค์อ๊อด น., คนขยัน ว., & ศรีอ้วน ป. (2020). การบริหารงานบุคลากรในโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 25 อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 10(1), 159–167. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJMBU/article/view/247211
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา คงมี. (2554). ความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

จันจิรา อินตะเสาร์. (2550). การบริหารงานบุคลากรในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณัฐพร ภูทองเงิน. (2556). การบริหารงานบุคลากรของผู้บริหารสถานศึกษา ตามหลักพรหมวิหาร 4 ในกลุ่มสถานศึกษาเขตพื้นที่ ที่ 1–4 สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บริสุทธิ์ สังชาตรี. (2557). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดสกลนคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

พระมหาขวัญยืน สุทนฺโต (ฟางทสวัสดิ์). (2554). การศึกษาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภิญโญ สาธร. (2519). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไทยพัฒนาพาณิช จำกัด.

วินิจ คนขยัน. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างพลังการทำงานของครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

วิไลวรรณ ยะสินธ์. (2552). การบริหารงานบุคลากรโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ภายหลังจากการย้ายไปสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมพงศ์ เกษมสิน. (2521). การบริหารงานบุคคลแผนใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.