การพัฒนาสื่อการเรียนรู้สำหรับการออกเสียงภาษาอังกฤษของนักศึกษา คณะนิเทศศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น

Main Article Content

ปวีณา ถินแดง
ธารีรัตน์ หิรัญนุเคราะห์
บุญเลิศ วงศ์พรม

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของนักศึกษาก่อนและหลังได้รับการฝึกทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษด้วยสื่อวิดีโอของนักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยศรีปทุมวิทยาเขตขอนแก่น 2)เพื่อพัฒนาการออกเสียงภาษาอังกฤษให้ถูกต้องตามหลักของการออกเสียงภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักศึกษา คณะนิเทศศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น จำนวน 20 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ ก่อน-หลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 


         ผลการวิจัยพบว่า 1)นักศึกษาจำนวน 20 คน ที่ทำแบบทดสอบก่อนเรียนมี ค่าเฉลี่ย 3.30 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.03 และแบบทดสอบหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย 17.65 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.39 ผลคะแนน แบบทดสอบหลังเรียนของนักศึกษาสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับผลคะแนนก่อนเรียน 2)นักศึกษามีความพึงพอใจต่อสื่อวิดีโอการออกเสียง คำศัพท์ภาษาอังกฤษมีค่าเฉลี่ย 4.06 และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.79 จากการศึกษาและวิเคราะห์คะแนนที่ได้จากการทดสอบตามแบบฝึกหัดก่อนเรียนนั้น แสดงให้เห็นว่านักศึกษาบางคนยังไม่มีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับการออกเสียงภาษาอังกฤษหรือมีพื้นฐานความรู้มาบ้างแต่ยังขาดทักษะการการเน้นคำ แต่หลังจากนักศึกษาได้เรียนรู้จากวีดีโอและออกเสียงตาม ช่วยให้นักศึกษามีความรู้การออกเสียงภาษาอังกฤษได้ถูกต้องและสามารถทำแบบทดสอบหลังเรียนได้คะแนนเพิ่มขึ้น

Article Details

How to Cite
ถินแดง ป., หิรัญนุเคราะห์ ธ., & วงศ์พรม บ. (2021). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้สำหรับการออกเสียงภาษาอังกฤษของนักศึกษา คณะนิเทศศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 10(1), 858–868. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJMBU/article/view/248301
บท
บทความวิจัย

References

ถิรวัฒน์ ตันทนิส. (2556). ปัญหาการออกเสียงภาษาอังกฤษของนักศึกษาสหวิทยาการ ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 51. วันที่ 5-7 กุมภาพันธ์ 2556. 170-177.

ปวีณนุช พุ่มจิต และอังค์วรา เหลืองนภา. (2562). การใช้แอปพลิเคชันในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษด้านการฟัง. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2. วันที่ 19 มกราคม 2562 ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 550-561.

พัชราภรณ์ ห่อตระกูล และ สุพจน์ แก้วไพฑูรย์. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การออกเสียงภาษาอังกฤษของนิสิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร. วิทยาเขตแพร่. 1(1). 39-48.

พิณทิพย์ ทวยเจริญ. (2544). การพูดภาษาอังกฤษตามหลักภาษาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มณีรัตน์ กรรณิกา และ อภิราดี จันทร์แสง. (2560). การพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้รายการโทรทัศน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 11(2). 127-133.

รุสลาน สาแม และเปรมินทร์ คาระวี (2558). พฤติกรรมการออกเสียงพยางค์หนัก-เบาในคำภาษาอังกฤษจากผลของการสอนแบบฟัง-พูดร่วมกับการสอนความรู้ทางสัทศาสตร์: การศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศิริราษฎร์สามัคคี อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 26(1). 85-89.

Ur,P. (2000). A Course in Language Teaching Practice and Theory: Teaching Pronunciation. United Kingdom : Cambridge University Press.