ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้งานโซเชียลมีเดียในการสื่อสารภายในองค์กร ของบุคลากรภายใน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมการใช้งานโซเชียลมีเดียในการสื่อสารภายในองค์กรของบุคลากรภายใน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และ 2)เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้งานโซเชียลมีเดียในการสื่อสารภายในองค์กรของบุคลากรภายใน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรภายใน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ที่ใช้งานแอปพลิเคชันไลน์ AOT STAFF จำนวน 316 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และโมเดลสมการโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า 1. โมเดลความสัมพันธ์ที่เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1)ด้านคุณภาพของข้อมูล 2)ด้านการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง 3)ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์
4)ด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน 5)ด้านทัศนคติ และ 6)ด้านพฤติกรรมการใช้งาน สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยพิจารณาจากค่าสถิติไค-สแควร์ (χ2) = 389.18, ค่า CMIN/df = 1.14, ค่าองศาอิสระ (df) = 341, ค่า GFI = 0.93, ค่า AGFI = 0.90, ค่า SRMR = 0.03, ค่า RMSEA = 0.02 และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ เท่ากับ 0.84 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการใช้งานโซเชียลมีเดียในการสื่อสารภายในองค์กรของบุคลากรภายใน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้ร้อยละ 84 2. ปัจจัยเชิงสาเหตุด้านทัศนคติ ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ ด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน มีอิทธิพลต่อด้านพฤติกรรมการใช้งานตามลำดับ ซึ่ง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) สามารถใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการดำเนินงานในการสื่อสารภายในองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ธัญญลักษณ์ พลวัน, สุพรรษา กุลแก้ว และณัฐสิทธิ์ เกิดศรี. (2554). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยี และปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี QR Code ของกลุ่มประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. วิศวกรรมสาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 27(88). 29-40.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นัยน์ปพร ชุมเกษียร. (2562). อิทธิพลทางสังคม การรับรู้และทัศนคติการใช้งานบาร์โค้ดที่มีต่อพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีบาร์โค้ดในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์นิคมอุตสาหกรรม
อีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 8(16). 86-99.
บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน). (2562). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสารของ ทอท. ปีงบประมาณ 2562. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2564. จากhttps://portal.airportthai.co.th/kmhub/drive/public/Documents/แผนแม่บท%20 ทอท/แผนแม่บทICT.pdf#search=aot%20staff
ลฎาภา ศรีพสุดา, สุภาวดี สุวรรณเทน และพงศกร ทองพันธุ์. (2561). สื่อใหม่กับวัยรุ่นไทยใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์ How to Thai adolescent use New media for advantage?. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 10(27). 227-235.
วนิดา ตะนุรักษ์, นรพล จินันท์เดช และประยงค์ มีใจซื่อ. (2559). อิทธิพลของทัศนคติต่อการใช้งาน และปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อพฤติกรรมความตั้งใจในการใช้เทคโนโลยีของพนักงานอุตสาหกรรมการค้าส่งและค้าปลีกไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย. 22(1). 41-53.
ศักดิ์สิทธิ์ ใจชื้น และสร้อยบุปผา สาตร์มูล. (2564). ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีเครื่องปรับสภาพอากาศของผู้บริโภคประเภทกลุ่มโรงแรม กลุ่มห้องปฏิบัติการและผู้บริโภคทั่วไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 10(1). 160-172.
สมิธ พิทูรพงศ์. (2560). การใช้แอปพลิเคชันไลน์ในกระบวนการทำงานกรณีศึกษา บริษัท สหผลิตภัณฑ์พาณิชย์ จำกัด. สารนิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิตอล. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., & Anderson, R.E. (2010). Multivariate data analysis 7th ed. New York : Pearson.
Hoelter, J. W. (1983). The Analysis of Covariance Structures: Goodness-of-Fit Indices. Sociological Methods and Research. 11(3). 325–344.
Kline, R.B. (2011). Principles and Practice of Structural Equation Modeling. 3rd ed. New York, NY : The Guildford Press.
Yuhelmi, Mery Trianita, and Surya Dharma. (2019). The Extension of TAM Model in the Use of Point of Sale (Pos) in Minimarkets in Padang, Indonesia. KnE Social Sciences. 3(14). 83-96.