ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้กัญชาในการรักษาโรคของประชาชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

บุญเพ็ง สิทธิวงษา
อธิศ ไชยคิรินทร์
ดนัย ลามคำ
ทรงพล โชติกเวชกุล
ไชยพร สมานมิตร

บทคัดย่อ

           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาการใช้กัญชาในการรักษาโรคของประชาชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2)เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้กัญชาในการรักษาโรคของประชาชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือและ 3)เพื่อศึกษาแนวพัฒนาการใช้กัญชาในการรักษาโรคของประชาชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชน ข้าราชการในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 400 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ โดยใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบเป็นลำดับขั้น


           ผลการวิจัยพบว่า 1)การใช้กัญชาในการรักษาโรคของประชาชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตัวแปรตาม โดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ด้านการรับรู้ในประเมินนโยบายการใช้กัญชาในการรักษาโรค ด้านการรับรู้กำหนดนโยบายการใช้กัญชาในการรักษาโรค และด้านการรับรู้ในการนำนโยบายการใช้กัญชาในการรักษาโรคไปปฏิบัติ ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้กัญชาในการรักษาโรคของประชาชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยรวมทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ด้านบทบาทท้องถิ่น(X4) ด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ(X3) ด้านบทบาทของชุมชน(X1) ตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัวมีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ(b) เท่ากับ .420, .275 และ .040 ตามลำดับ 3)แนวพัฒนาการใช้กัญชาในการรักษาโรคของประชาชน ควรได้รับรู้แนวทางในการกำหนดนโยบายพฤติกรรมความรู้เกี่ยวกับการใช้กัญชาโดยกำหนดแนวทางเกี่ยวกับการใช้กัญชาในการรักษาโรคจากหน่วยงานการแพทย์ที่มีการปรับเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการใช้กัญชามีหน่วยงานในสังกัดประชาสัมพันธ์ในการรักษาโรคต่างๆมีการประชาสัมพันธ์ทางสื่อในการนำนโยบายเกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับการใช้กัญชาในการรักษาโรคมีการบริการข่าวสารประชาสัมพันธ์การดำเนินการและบูรณาการและภาครัฐควรมีการส่งเสริมสนับสนุนเจ้าหน้าที่ โดยให้ท้องถิ่นเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ เกี่ยวกับการใช้กัญชาในการรักษาโรคอย่างชัดเจน

Article Details

How to Cite
สิทธิวงษา บ., ไชยคิรินทร์ อ., ลามคำ ด., โชติกเวชกุล ท., & สมานมิตร ไ. (2023). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้กัญชาในการรักษาโรคของประชาชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 12(1), 551–558. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJMBU/article/view/266640
บท
บทความวิจัย

References

กฤษณะ มูลมี และคณะ.(2563). การศึกษาความพึงพอใจของประชาชนในการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานองค์การบริหารส่วนตำบลคลองคูณ อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร.วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 10(1). 44-50.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window. พิมพ์ครั้งที่ 12.กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจํากัด สามลดา.

ณปภัช จินตภาภูธนสิร และคณะ. (2563). ความรู้ความเข้าใจและทัศนคติเกี่ยวกับการใช้กัญชาของนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการคณะบริหารธุรกิจ. วิทยาลัยนวัตกรรม : มหาวิทยาลัยรังสิต.

ดลมนัส กาเจ. (2562). เกษตรกรได้ฤกษ์ ปลูก“กัญชา” ต้นแรกลงดินอย่างถูกกฎหมายแล้ว. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2565. จาก https://kasettumkin.com

ปรีดาภรณ์ สายจันเกต และคณะ. (2563). ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้กัญชาในการรักษาโรคของประชาชนในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 18(3). 595-603.

พีร์ พวงมะลิต. (2561). ทัศนคติและการรับรู้ของประชาชนต่อกฎหมายเกี่ยวกับการปล่อยโคมลอย.กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

เพ็ญพักตร์ พรายคง. (2560). ความรู้และทัศนคติของประชาชนท้องถิ่นที่มีต่อเขตเศรษฐกิจพิเศษในอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์ และคณะ. (2561). ประโยชน์และโทษที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้กัญชาในทางการแพทย์และการเปิดเสรีการใช้กัญชา. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุขสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. 12(1). 71-94.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York : Harper and Row Publications.