การพัฒนาชุดการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ วิชาสื่อผสมดิจิทัลเพื่อการเรียนการสอน สำหรับนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

Main Article Content

สมชาย พาชอบ
จิราวรรณ พาชอบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการสอนโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการสอนโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการสอนโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ จำนวน 26 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดการสอนโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้ค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.47 - 0.78 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.25 - 0.85 และค่าความเชื่อมั่น 0.89 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพ E1/E2 การทดสอบค่าที แบบไม่อิสระ และทดสอบค่าที เปรียบเทียบคะแนนกับเกณฑ์


ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดการสอนโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีประสิทธิภาพ 82.76/83.85 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียนด้วยชุดการสอนโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ วิชาสื่อผสมดิจิทัลเพื่อการเรียนการสอนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดการสอนโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
พาชอบ ส., & พาชอบ จ. (2024). การพัฒนาชุดการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ วิชาสื่อผสมดิจิทัลเพื่อการเรียนการสอน สำหรับนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 13(1), 592–603. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJMBU/article/view/272096
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไข เพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2553 (ฉบับที่ 3). กรุงเทพมหานคร : บริษัทสยาม สปอรต์ซินดิเคทจำกัด.

คณะศึกษาศาสตร์. (2562). หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนหลักสูตรใหม่ พ.ศ.2562. หนองบัวลำภู : วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.

งานทะเบียนและประมวลผล. (2565). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา 2565. หนองบัวลำภู : วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2538). การทดสอบประสิทธิภาพชุดการสอน เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่ 1 – 5. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธีรภัทร์ สุขสบาย. (2561). การพัฒนาชุดการสอนรายวิชาการสอนการเรียนภาษาไทยสำหรับนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยพิชญทรรศน์. 13(2). 15-21.

ธีระเดช จิราธนทัต. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการตั้งใจเรียนของนักศึกษาโดยใช้ชุดการสอนที่เน้นวิธีการสอนแบบให้ฝึกปฏิบัติวิชาหลักการศึกษาและปรัชญาการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์. 13(2). 161-172.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

ประจักษ์ พัฒนพงษ์ศักดิ์. (2560). การพัฒนาชุดการสอนที่เน้นวิธีเรียนแบบร่วมมือเทคนิค (STAD) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ลิมิตและอนุพันธ์ของฟังก์ชันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 14(27). 133-140.

ปาจรีย์ เจริญวงศ์. (2560). การพัฒนาชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจำนวนจริง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ปิยนุช ธรรมสุทธิ์. (2566). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเศรษฐศาสตร์ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณ.

พิมพ์ลดา สินธุนาวา คงรัฐ นวลแปง และเวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 18(4). 238-250.

ไพศาล หวังพานิช. (2545). การวัดและประเมินผลการเรียน. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มูลนิธิสยามกัมมาจล.

สมฤทัย หาญนาดง, สมชาย พาชอบ และเกียรติศักดิ์ ชารีโคตร. (2566). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD เสริมด้วยแบบฝึกทักษะ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1. วารสารการบริหารจัดการและนวัตกรรมท้องถิ่น. 5(3). 22-35.

สินีเนตร นาโควงค์ (2565) การพัฒนาชุดการสอนนาฏศิลป์ เรื่อง การประดิษฐ์ท่ารำ โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2552). 19 วิธีจัดการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์.

Arends, R.I.. (1994). Learning to teach. 3rd ed. Singapore : McGraw-Hill Books.