การประยุกต์ใช้หลักมรรคมีองค์ 8 ในการเสริมสร้างวิถีชีวิตความพอเพียงของชุมชนเขตอีสานกลาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันการประยุกต์ใช้หลักมรรคมีองค์ 8 ในการเสริมสร้างวิถีชีวิตความพอเพียงของชุมชนเขตอีสานกลาง 2)เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการประยุกต์ใช้หลักมรรคมีองค์ 8 ในการเสริมสร้างวิถีชีวิตความพอเพียงของชุมชนเขตอีสานกลางจำแนกตามเพศ อายุ และอาชีพ 3)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้หลักมรรคมีองค์ 8 กับวิถีชีวิตความพอเพียงของชุมชนเขตอีสานกลาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนในชุมชนเขตอีสานกลางตามสูตรคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ ทำการคำนวณร้อยละ 4 ดังนี้ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 100 คน จังหวัดขอนแก่น จำนวน 100 คน จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 100 คน และจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 100 คน รวมทั้งสิ้น 400 คน และใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาค่าความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานทำการทดสอบค่า t-test ค่า F-test และวิเคราะห์เพื่อหาความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ Scheffe’ วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน(Pearson’s Product Moment Correlation)
ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับการปฏิบัติในการประยุกต์ใช้หลักมรรคมีองค์ 8 ในการเสริมสร้างวิถีชีวิตความพอเพียงของชุมชนเขตอีสานกลางโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ สัมมากัมมันตะคือ การกระทำถูกต้องรองลงมา ได้แก่ สัมมาวายามะคือ ความพากเพียรถูกต้องสัมมาทิฏฐิคือความเข้าใจถูกต้องสัมมาสติคือ การระลึกประจำใจถูกต้องสัมมาสมาธิคือ การตั้งใจมั่นถูกต้องสัมมาวาจาคือ การพูดจาถูกต้อง สัมมาสังกัปปะคือ ความนึกคิดในทางที่ถูกต้อง และสัมมาอาชีวะคือ การดำรงชีพถูกต้อง ส่วนระดับการปฏิบัติของวิถีชีวิตความพอเพียงของชุมชนเขตอีสานกลางโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการทำงานและการแก้ปัญหารองลงมา ได้แก่ ด้านการพัฒนาตนเองและคุณภาพชีวิต ด้านการพึ่งตนเองด้านปัญญาพอเพียง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านการอยู่บนพื้นฐานวัฒนธรรมพอเพียง (2) ผลการเปรียบเทียบสภาพการประยุกต์ใช้หลักมรรคมีองค์ 8 ในการเสริมวิถีชีวิตความพอเพียงของชุมชนเขตอีสานกลางโดยรวมและรายด้าน จำแนกตามเพศ อายุ ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านอาชีพ แตกต่างกัน ในด้านสัมมาวายามะ คือ ความพากเพียรถูกต้อง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 (3) การทดสอบความความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้หลักมรรคมีองค์ 8 มีความสัมพันธ์ทางบวกกับวิถีชีวิตความพอเพียงของชุมชนเขตอีสานกลางทุกด้าน
Article Details
References
พระครูพิพิธสุตาทร และคณะ. (2556). การบริหารจัดการองค์กรและการสร้างเครือข่ายทางสังคมของกลุ่มสังฆพัฒนาเพื่อชีวิตและชุมชน. พระนครศรีอยุธยา: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2553). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 31. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.
ภูสิทธิ์ ขันติกุล. (2553). รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุทันทา.
รศรินทร์ เกรย์ วรชัย ทองไทย และเรวดี สุวรรณนพเก้า. (2553). ความสุขเป็นสากล. กรุงเทพมหานคร : บริษัท จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด.
ศิริวรรณ พัฒนารุ่งพานิช. (2552). การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิตของข้าราชการทหาร กอง 9 ศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการทองทัพไทย. ภาคนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สุคนธ์ เหลืองอิงคะสุต. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริกับการบันทึกบัญชีครัวเรือนของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลหนองไผ่อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.