ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการบริหารจัดการหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการบริหารจัดการหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการบริหารจัดการหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ดที่มี เพศ อายุ และการประกอบอาชีพ ต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเสนอเป็นแนวทางในการเสริมสร้างพัฒนาการบริหารจัดการหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิตต่อไป กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2555 - 2556 รวมทั้งสิ้น จำนวน 130รูป/คนเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าห้าระดับ จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .83 สถิติใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้ t- test และ F–test (One–way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการวัดและประเมินผล ด้านหลักสูตร ด้านอาจารย์ ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ด้านเทคนิคและวิธีการสอน และด้านสภาพแวดล้อม ตามลำดับ 2) ผลการทดสอบสมมติฐานนักศึกษาที่มีเพศ อายุ และอาชีพ ต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ดโดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ และ 3) นักศึกษาได้เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด โดยรวมทั้งหกด้านลำดับตามความถี่จากสูงไปหาต่ำสามอันดับ คือ ควรจะชี้แจงแผนการเรียนที่เรียนในแต่ละปีการศึกษาเพื่อกำชับความเข้าใจให้กับนักศึกษา ควรมีการปรับปรุงและพัฒนาห้องสุขาให้สะอาดถูกสุขลักษณะ และเพียงพอต่อจำนวนนักศึกษาและบุคลากรและ ควรมีการปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบันมากขึ้น
Article Details
References
คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษาคณะอนุกรรมการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา. (2558). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์ : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
ชลธิชา สุขเกษม. (2554). การตัดสินใจศึกษาต่อของนิสิตในหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา. ปัญหาพิเศษ รัฐประศาสนศาสนตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. บัณฑิตวิทยาลัย : วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ดลฤดี สุวรรณคีรี. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ทั่วประเทศ. วารสารพัฒนาสังคม คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชาสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (ตุลาคม 2550). หน้า 157 – 174.
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2556). แผนกลยุทธ์. งานแผนและนโยบาย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
สมเกียรติ วิเชียรวิลาวัณย์. (2550). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักศึกษา ที่มีต่อการบริหารจัดการหน่วยงานสนับสนุนการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา และมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สันติสุข ไชยมงคล. (2543). การศึกษาไทย. นครสวรรค์ : ไพศาลการพิมพ์คอมพิวเตอร์กราฟฟิค.
อเนก สุวรรณบัณฑิต และภาสกร อดุลพัฒนกิจ. (2548). จิตวิทยาบริการ. กรุงเทพมหานคร : อดุลพัฒนกิจ.