ความคิดเห็นของคณะกรรมการหมู่บ้านที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของเทศบาลตำบลม่วงนา อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
สารนิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1)เพื่อศึกษาความคิดเห็นของคณะกรรมการหมู่บ้านที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลม่วงนา อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลม่วงนา อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ ของคณะกรรมการหมู่บ้านที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ต่างกัน และ 3)เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะแนวทางพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลม่วงนา อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะกรรมการหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลม่วงนา อำเภอดอนจานจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 108 คนโดยใช้สูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .90 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติ การทดสอบสมมติฐานได้แก่ t-test และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (F-test) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า 1)ความคิดเห็นของคณะกรรมการหมู่บ้านที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลม่วงนา อำเภอดอนจานจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก ทั้ง 6 ด้าน เรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักความรับผิดชอบด้านหลักการมีส่วนร่วมด้านหลักความคุ้มค่า ด้านหลักคุณธรรมและด้านหลักความโปร่งใส 2) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า คณะกรรมการหมู่บ้านที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และการประกอบอาชีพต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลม่วงนา อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์โดยรวมไม่แตกต่างกัน และ 3) คณะกรรมการหมู่บ้านเสนอแนะแนวทางพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลม่วงนา อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ เรียงลำดับตามความถี่จากสูงไปหาต่ำสามอันดับแรก ได้แก่ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายการใช้งบประมาณประจำปี ควรให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นในการเสนอเทศบัญญัติและเทศบาลควรปฏิบัติงานตามโครงการที่แจ้งให้ประชาชนทราบอย่างเคร่งครัด
Article Details
References
คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, สำนักงาน. (2546) คู่มือการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, สำนักงาน. (2543). การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี (Good Governance) กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
จักรภัทร ชารีคำ. (2550). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติตามหลักธรรมภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอพยัคฆ์ภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
จิรายุ ทรัพย์สิน. (2540). ความคิดเห็นของนิสิตที่มีผลต่อการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ: ศึกษาเฉพาะกรณีนิสิตปริญญาตรี คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม., กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์. (2543). “กระทรวงมหาดไทยกับการบริหารจัดการที่ดี” ในการปกครองที่ดี (Good Governance). กรุงเทพมหานคร : บพิธการพิมพ์.
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2541). 100 ปี แห่งการปฏิรูประบบราชการวิวัฒนาการของอำนาจรัฐและอำนาจการเมือง. กรุงเทพมหานคร : สถาบันนโยบายศึกษา.
เทศบาลตำบลม่วงนา. (2557-2559). แผนพัฒนาตำบล 3 ปี เทศบาลตำบลม่วงนา. กาฬสินธุ์ : เทศบาลตำบลม่วงนา.
บวร วิเศษสุนทร. (2550). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : บริษัทสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
ประเวศ วะสี. (2542). ยุทศาสตร์ชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนเพื่อสังคม.
ยุภาพรรณ ศรีลาวงษ์. (2556). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลนาตาล อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ รป.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
อัญชลี พิมพ์เวิน. (2553). ความคิดเห็นของนิติกรเกี่ยวกับปัญหาการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดร้อยเอ็ด. การศึกษาค้นคว้าอิสระ รป.ม.. มหาสารคาม :มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.