การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาอำเภอโพนทราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
สารนิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1)เพื่อศึกษาการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในอำเภอโพนทราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 2)เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในอำเภอโพนทรายสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 จำแนกตาม เพศ อายุ และระดับการศึกษา 3)เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในอำเภอโพนทรายสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็นคณะกรรมการสถานศึกษาในอำเภอโพนทราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 จำนวน 118 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าห้าระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย โดยใช้ t-test (Independent Samples) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANVOVA) โดยการทดสอบ F-test
ผลการวิจัยพบว่า
1) ระดับการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในอำเภอโพนทรายสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียง ลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แด่ ด้านบริหารงานทั่วไป ด้านบริหารงานวิชาการ ด้านบริหารงานบุคคล ด้านบริหารงานงบประมาณ
2) ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในอำเภอโพนทรายสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 2 พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาในอำเภอโพนทราย จำแนกตามเพศชายและเพศหญิง โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไปไม่แตกต่างกัน จำแนกตามอายุโดยรวม และรายด้านไม่แตกต่างกัน จำแนกตามระดับการศึกษา รายด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนโดยรวมทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในอำเภอโพนทราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 2 (3.1)ด้านวิชาการ สถานศึกษาควรดำเนินการในการจัดภูมิทัศน์ให้เอื้อต่อการจัดกิจกรรมทางวิชาการ เช่น แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา แหล่งสืบค้นข้อมูลชุมชนและจัดกิจกรรมทางวิชาการเพื่อให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับสถานที่สำคัญในชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สำคัญต่างๆ (3.2)ด้านงบประมาณ สถานศึกษาควรมีการชี้แจงงบประมาณ ที่ได้รับ และรายจ่ายในแต่ละปี ให้ที่ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาได้รับทราบ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการให้ความช่วยเหลือสถานศึกษาต่อไป (3.3)ด้านการบริหารงานบุคคล สถานศึกษาควรให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชครู ตลอดจนดูแลการปฏิบัติตนในสังคมของข้าราชการครู เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กและเยาวชนต่อไป และ 3.4)ด้านการบริหารทั่วไป สถานศึกษาควรชี้แจง ประชาสัมพันธ์ งาน/โครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชุมชน ให้ชุมชนได้รับทราบ เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมืออันดีระหว่างสถานศึกษากับชุมชนตลอดไป
Article Details
References
กุลจิรา ว่องเกษการ. (2554). การศึกษาการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
เกื้อหทัย กาชัย. (2555). การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาขนดกลางพื้นที่พิเศษ อำเภอแม่สรวย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงรายเขต 2. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
เฉลิมพล พวงศิริ. (2552). การบริหารโรเรียนแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองสุรินทร์. วิทยานิพนธ์สาขาการบริหารการศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ดิเรก อนันท์. (2556). การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
ธีระวุฒิ เอกะกุล. (2549). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี : วิทยาการพิมพ์.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2553 (ฉบับที่ 3). กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
ยุทธศิลป์ พานนนท์. (2554). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทร์เกษม.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2548). การบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ทิพย์วิสุทธิ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). คู่มือการปฏิบัติงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แนวทางการนำมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.