ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลในการบริหารโรงเรียนในเขตอำเภอเมืองร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1

Main Article Content

นิน โพธิ์ศรี
ดร.สัมฤทธิ์ แก้วสมบัติ
ดร.กุศล ศรีสารคาม

บทคัดย่อ

                  สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพคุรุสภาในการบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 1 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานสถานศึกษาในการบริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 1 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพคุรุสภากับประสิทธิผลในการบริหารงานสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 และ 4) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลในการบริหารโรงเรียนในเขตอำเภอเมืองร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครู สังกัดสำ-นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 จำนวน  317 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and  Morgan)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบมาตราส่วนประมาณค่าห้าระดับมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติการทดสอบ ได้แก่ การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)ใช้สหสัมพันธ์ของเพียรสัน (Simple correlation)


                    ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพคุรุสภาในการบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 1โดยรวมมีระดับสมรรถนะ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากแปดด้าน และอยู่ในระดับปานกลางสองด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดสามอันดับแรก ได้แก่ ด้านคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร  รองลงมาคือ ด้านการบริหารการประชาสัมพันธ์และความสัมพันธ์ชุมชน ด้านการบริหารกิจการนักเรียน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา 2) ระดับประสิทธิผลในการบริหารงานสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านความสามารถในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาโรงเรียน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านความสามารถในการผลิตนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง 3) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า พบว่า สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพคุรุสภา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับ ประสิทธิผลในการบริหารงานสถานศึกษาโดยรวมและรายด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ผู้ตอบแบบสอบถามได้เสนอแนะเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลในการบริหารโรงเรียนในเขตอำเภอเมืองร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 ลำดับตามความถี่มากที่สุดสามอันดับแรก ได้แก่ ผู้บริหารมีการวางแผนการปฏิบัติงานแต่ละภารกิจให้บรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติ ผู้บริหารเปิดโอกาสให้ครูผู้สอนแสดงความคิดเห็นและส่งเสริมความก้าวหน้าของบุคลากรในโรงเรียน ผู้บริหารมีความสามารถเลือกวิธีในการพัฒนาตนเองได้อย่างเหมาะสมกับจุดเด่น จุดด้อยของตนเอง และผู้บริหารมีวิธีชื่นชมบุคลากรอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจของบุคลากรในโรงเรียน

Article Details

How to Cite
โพธิ์ศรี น., แก้วสมบัติ ด., & ศรีสารคาม ด. (2018). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลในการบริหารโรงเรียนในเขตอำเภอเมืองร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 7(2), 88–98. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJMBU/article/view/196624
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2548). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และบัญชี. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2553). การนำแผนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย.

จันธิดา ผ่านสอน. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ธวัชชัย ยวงคำ. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาน่าน เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ธีระ รุญเจริญ. (2556). การบริการโรงเรียนในยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ปรีชา ทัศน์ละไม. (2549). ความสัมพันธ์แบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนและประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1-3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ยิ่งยศ พละเลิศ. (2550). สมรรถนะผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รัชนีกร หงส์พนัส. (2547). การทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทัศนคติต่อวิชาชีพครูจากคะแนนแววครูของครุศาสตรบัณฑิต สาขาประถมศึกษาร้อยเอ็ด. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และคณะ. (2543). สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหาร. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). ตัวชี้ลักษณะครูที่ดี การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ลักษณะของผู้บริหารที่สนับสนุน Child-Center. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน). (2548). มาตรฐาน ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การพิจารณาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานรอบที่ 2 (พ.ศ. 2548-2553). กรุงเทพฯ : จุดทอง.

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2548). แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย Competency based learning. กรุงเทพฯ : สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.

สุพจน์ วิเชียรศรี. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริหารกับมาตรฐานการบริหารและการจัดการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

Gibson, C. and D. Mahoney. (1988). Predictor of Job Satis Faction and Organization Commitment Service Organizations. New Jersy : Prentice – Hall.

Hoy, Wayne K. and Cecil G. Miskel. (1991). Educational Administrations : Theory the Research and Practice. 4 ed. Singapore : McGraw-hill.