ความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อการนิเทศภายในโรงเรียนศูนย์เครือข่ายที่ 7 หัวช้างเผือก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อการนิเทศภายในโรงเรียนศูนย์เครือข่ายที่ 7 หัวช้างเผือก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อการนิเทศภายในโรงเรียนศูนย์เครือข่ายที่ 7 หัวช้างเผือก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 โดยจำแนกตาม เพศ อายุ และขนาดของโรงเรียน 3)ศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนิเทศภายในโรงเรียนศูนย์เครือข่ายที่ 7หัวช้างเผือก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายที่ 7 หัวช้างเผือก สำนักงานงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 จำนวน 127 คน ได้จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ เครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan)จากนั้นจึงทำการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือ ที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 35 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่น(Reliability) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.75 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยทำการทดสอบค่า t-test (Independent Samples)และ F–test (One-way ANOVA) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อการนิเทศภายในโรงเรียนศูนย์เครือข่ายที่ 7 หัวช้างเผือกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการควบคุม กำกับ ติดตามการนิเทศ รองลงมาคือ ด้านการตรวจสอบการประเมินผลการนิเทศ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านการภาวะผู้นำในการนิเทศภายในโรงเรียน
2. ผลการเปรียบเทียบพบว่า ครูผู้สอน ที่มีเพศ อายุ และขนาดโรงเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการนิเทศภายในโรงเรียนศูนย์เครือข่ายที่ 7 หัวช้างเผือก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 โดยรวมไม่แตกต่างกัน
3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนิเทศภายในโรงเรียนศูนย์เครือข่ายที่ 7 หัวช้างเผือก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 พบว่า 1)ด้านการวางแผนในการนิเทศ ผู้บริหารควรมีการจัดประชุมเรื่องการนิเทศภายในอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทุกฝ่ายแสดงความคิดเห็นและเสนอแนวทางการดำเนินงานได้อย่างสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 2) ด้านการจัดโครงสร้างและมาฐานการปฏิบัติงาน ควรมีการจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชนเพื่อให้โรงเรียนใกล้ชิดชุมชุนมากขึ้น และสามารถนำความคิดเห็นต่างๆมาดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการเรียนการสอน หลักสูตการสอนใหม่ๆ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 3) ด้านภาวะผู้นำในการนิเทศภายใน ผู้บริหารควรนำการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ครูผู้สอนมีการสอบถามความต้องการของนักเรียน ไม่ว่าจะเป็นถามจากตัวนักเรียนเอง หรือสอบถามจากชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่ เพื่อให้ได้ผลการประเมินไปพัฒนาแผนการเรียนรู้ของนักเรียน 4) ด้านการควบคุม กำกับ ติดตามการนิเทศ ผู้บริหารควรมีการกำกับ ติดตามการนิเทศภายในของครูอย่างต่อเนื่องและถี่มากขึ้น เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานภายในโรงเรียน หากพบข้อด้อยควรให้ความสำคัญและเร่งแก้ไข5) ด้านการตรวจสอบประเมินผลการนิเทศ ผู้บริหารควรมีการประชุมคณะครูเพื่อชี้แจงและแนะนำการวัดประเมินผลการเรียนรู้วางแผนในการดำเนินงานให้เป็นไปตามระเบียบและสอดคล้องกับหลักสูตร
Article Details
References
ชญากาญจธ์ ศรีเนตร. (2556). รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธีระ รุญเจริญ. (2546). สภาพและปัญหาการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวียาสาส์น.
ประทวน ด่านแก้ว. (2553). ความพึงพอใจของครูต่อการนิเทศภายในโรงเรียนสังกัดศูนย์เครือข่ายโรงเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 10 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 7. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2546). การนิเทศการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สื่อเสริมกรุงเทพ.
พัชรินทร์ ช่วยศิริ. (2554). การศึกษาการดำเนินงานนิเทศภายในของโรงเรียนวัดประดู่ฉิมพลี. สารนิพนธ์การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วราภรณ์ แสงพลสิทธิ์. (2554) . ความต้องการการนิเทศการสอนของครูเครือข่ายโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม. สารนิพนธ์การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมาน อัศวภูมิ. (2544). การบริหารการศึกษาสมัยใหม่ : แนวคิด ทฤษฎี และการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 4. อุบลราชธานี : หจก.อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2540) .รายงายผลการประชุมสมัชชาการศึกษาเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.
สุรศักดิ์ เอี่ยมทุเรียน. (2557). การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน โรงเรียนในศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาสายเหนือสัมพันธ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1.