การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีเหตุผลวิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ยุภาวรรณ์ ปริตวา

บทคัดย่อ

                  บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีเหตุผลวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4)  เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560  จำนวน 42 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selective) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบวิเคราะห์เอกสาร รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีเหตุผลวิชาคณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินรูปแบบการสอน วิชาคณิตศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีเหตุผลวิชาคณิตศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4     การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบทีแบบไม่อิสระและการวิเคราะห์เนื้อหา


                  ผลการวิจัยพบว่า


                  1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีเหตุผลวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่นักเรียนต้องการ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ต้องการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีเหตุผลวิชาคณิตศาสตร์เพราะนักเรียนมีความรู้ มีทักษะในการคิดอย่างมีเหตุผลมากขึ้น บรรยากาศในการเรียน สนุกสนาน นักเรียนได้เรียนร่วมกลุ่มกับเพื่อน กิจกรรมการเรียนการสอนหลากหลาย นักเรียนได้ร่วมกิจกรรมทุกคน และนักเรียนสามารถนำความรู้ไปแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้


                  2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีเหตุผลวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้ค่าประสิทธิภาพ E1 /E2 แบบรายบุคคล (Individual  Tryout) เท่ากับ 77.78/76.67 ค่าประสิทธิภาพ  E1/E2 แบบกลุ่มเล็ก (Small  Group  Tryout) เท่ากับ  78.89/77.78 และจากการทดลองภาคสนามประสิทธิภาพของการรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีเหตุผลมีค่าเท่ากับ  81.39/80.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์  80/80 ที่กำหนดไว้


                  3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนโดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีเหตุผลวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 42 คน ได้ค่าประสิทธิภาพ  E1/E2 เท่ากับ  83.53/82.06 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
                   4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีเหตุผลวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่าผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีเหตุผลวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการเรียนรู้ได้และมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีเหตุผลวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ปริตวา ย. (2018). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีเหตุผลวิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 7(1), 201–214. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJMBU/article/view/197268
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

จามรี สมานชาติ. (2554). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อคณิตศาสตร์ของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอน เรื่อง ความน่าจะเป็นตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์กับทฤษฎีพหุปัญญา. ปริญญาการศึกษมหาบัณฑิต หลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

โชคชัย บุญพา. (2548). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง เศษส่วนการบวก การลบ การคูณและการหารเศษส่วนโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฏีพหุปัญญา.วิทยานิพนธ์ (หลักสูตรและการสอน). มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทองแปลน ชมพูทัศน์. (2549). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการ เรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฏีพหุปัญญา. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม.. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

นภเนตร ธรรมบวร. (2545). การพัฒนากระบวนการคิดในเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2547). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

รัชตา เกาะเสม็ด. (2559). การสร้างกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามทฤษฎีพหุปัญญา เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. คณะวิทยาศาสตร์.มหาวิทยาลัยบูรพา.

โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม. (2560). รายงานประจำปี 2560. องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม : จังหวัดมหาสารคาม.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2544). 19 วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

หทัยรัตน์ ภูงามจิตร. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ จำนวนจริง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตาม แนวคิดทฤษฎีพหุปัญญา และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.